ปฏิรูปตำรวจฉบับเกรงใจตำรวจ (4)

คณะทำงานของ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ระดมมันสมองเพื่อให้ “ตกผลึก” แนวทางการปฏิรูปองค์กรตำรวจอย่างเป็นรูปธรรม

ไม่ใช่เอ่อออเพ้อฝันไปตามเรื่อง

เพราะจำเป็นต้องให้เกิดประโยชน์แก่ตำรวจทุกนายและประชาชนทั่วประเทศที่จะได้รับจากการทำงานของตำรวจ

  เน้นไปที่สุจริตชนคนส่วนใหญ่

ไม่ได้เอาใจผู้กระทำผิดที่ไม่เคยคำนึงถึงกฎหมาย แต่เที่ยวอ้างสิทธิทั้งที่ตัวเองละเมิดสิทธิคนอื่น

ร่างปฏิรูปตำรวจ “ฉบับเกรงใจตำรวจ” ที่โดนโยนทิ้ง ความจริงมุ่งหวังปรับเปลี่ยนระบบตบให้เข้าที่เข้าทางทันยุคสมัย ทำให้ตำรวจเป็นตำรวจมืออาชีพมีคุณภาพพร้อมรับใช้ประชาชน ปกป้องดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างเต็มความสามารถ

ว่าด้วยอำนาจหน้าที่และภารกิจตำรวจ คณะทำงานมีเจตนารมณ์ชัดเจนในเรื่องการของการกระจายอำนาจแบบบูรณาการ ตั้งแต่การบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ การบริหารงานตำรวจ ไปยังกองบัญชาการตำรวจนครบาล กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำงานจเรตำรวจแห่งชาติ สำนักงานพิสูจน์หลักฐาน กองบัญชาการศึกษา โรงเรียนนายร้อยตำรวจ และโรงพยาบาลตำรวจ

พร้อมแนวคิดเพิ่มอำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมายให้ส่วนราชการอื่นเพื่อลดภาระงานของตำรวจในอนาคต

ตั้งแต่ การจราจร ในความผิดที่เกี่ยวกับการจอดรถ

การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ มอบให้ ศุลกากรและสรรพสามิต การป้องกันปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบให้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การป้องกันปราบปรามการกระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค มอบให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม การป้องกันปราบปรามการกระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง ขนส่ง และรถยนต์ มอบให้กระทรวงคมนาคม การป้องกันปราบปรามการกระทำผิดอาญาทางน้ำ มอบให้ กรมเจ้าท่า

ปรับปรุงโครงสร้างและระบบตำแหน่งของพนักงานสอบสวน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบังคับใช้กฎหมายและการสอบสวนคดีอาญา ตั้งแต่ระดับโรงพักขึ้นไปสู่ภูธรจังหวัด กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

พนักงานสอบสวน มีอำนาจให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญตรวจเก็บตัวอย่างเลือด เนื้อเยื่อ ผิวหนัง เส้นผม หรือขน น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ  สารคัดหลั่ง สารพันธุกรรม หรือส่วนประกอบของร่างกายจากผู้ต้องหา ผู้เสียหาย หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นได้ทุกคดี โดยไม่จำกัดอัตราโทษและไม่ต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลดังกล่าว

พนักงานสอบสวนยังสามารถตรวจเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรม DNA จากเยื่อบุกระพุ้งแก้มของบุคคลได้

เป็นแนวคิดให้เกิดความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย

เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม  

RELATED ARTICLES