ว่าด้วยการขอหมายอาญา

มีข้อบังคับของประธานศาลฎีกา

ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่ง หรือหมายอาญา (ฉบับที่ 4)  พุทธศักราช 2561

เห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่ง หรือหมายอาญา

ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2561 โดย ชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกา

สาระสำคัญในรายละเอียดส่วนใหญ่จะเป็น การยกเลิก ตามความข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่ง หรือหมายอาญา พุทธศักราช 2548

ที่เกี่ยวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือเจ้าพนักงานอื่นที่เป็นผู้ร้องขอ

จำเป็นต้องเปลี่ยนจากตำแหน่งระดับชั้นของข้าราชการ หรือภาษาชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “ซี” ที่ยกเลิกไปก่อนหน้า มาเป็น ระดับปฏิบัติการ หรือ ระดับผู้เชี่ยวชาญ ในขั้นตอนการทำเรื่องร้องขอหมายค้น หรือขอหมายจับ

รวมถึงความบางข้อที่มีการนำเอา ระบบอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้ในการทำงานให้เกิดความคล่องตัวตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไปมากขึ้น

อาทิ ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่ง หรือหมายอาญา พุทธศักราช 2548 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

“ให้ผู้ร้องขอออกหมายจับหรือเจ้าพนักงานผู้รับมอบหมายจากผู้ร้องขอ นำคำร้องพร้อมเอกสารประกอบตาม ข้อ 10 มายื่นต่อศาลที่จะขอออกหมาย ทั้งนี้ สำนักงานศาลยุติธรรมอาจจัดให้มีระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ผู้ร้องขอจัดทำคำร้องและแบบพิมพ์หมายจับผ่านระดับดังกล่าวได้”

ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 22 แห่งข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่ง หรือหมายอาญา พุทธศักราช 2548

“เมื่อมีการออกหมายจับตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ศาลที่ได้รับมอบหมายบันทึกข้อมูลและเอกสารในระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนดด้วย”

เช่นเดียวกับให้ยกเลิกข้อความในวรรคหนึ่งของข้อ 23 แห่งข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่ง หรือหมายอาญา พุทธศักราช 2548 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

“เมื่อเจ้าพนักงานจับบุคคลตามหมายจับได้แล้ว ให้เจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องรายงานให้ศาลที่ออกหมายจับทราบโดยเร็ว แต่ต้องไม่ช้ากว่า7 วัน นับตั้งแต่วันจับ ทั้งนี้ เจ้าพนักงานดังกล่าวอาจรายงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนดก็ได้”

อีกทั้งจัดระเบียบป้องกันข้อมูลรั่วไหล

เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ข้อ 12/1 แห่งข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่ง หรือหมายอาญา พุทธศักราช 2548

“ให้ผู้ร้องขอออกหมายค้น หรือเจ้าพนักงานผู้รับมอบหมายจากผู้ร้องขอ นำคำร้องพร้อมเอกสารประกอบตามข้อ 11 ใส่ซองปิดผนึกประตรา “ลับ” ยื่นต่อศาลที่ขอให้ออกหมายนั้น”

นอกจากนี้ยังเพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 43/1 แห่งข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่ง หรือหมายอาญา พุทธศักราช 2548

“ในกรณีที่ศาลเห็นว่า จำเลยวิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้ศาลไต่สวนว่า มีเหตุตามข้อ 43 วรรคหนึ่งที่จะออกหมายขังผู้นั้นไว้หรือไม่ หากมีเหตุที่จะออกหมายขัง ศาลอาจสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปคสบคุมและบำบัดรักษาในสถานบำบัดรักษาตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พุทธศักราช 2551 มาตา 36 หรือส่งตัวผู้นั้นให้ผู้อนุบาล ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือบุคคลอื่นที่เต็มใจรับไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญา มาตรา 14 วรรคสอง แทนการออกหมายขังก็ได้”

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับตำรวจโดยตรง

เป็นการเปลี่ยนแปลงระดับชั้นการทำงาน ให้ยกเลิกความในข้อ 38 แห่งข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่ง หรือหมายอาญา พุทธศักราช 2548 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

“เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจเป็นหัวหน้าไปจัดการตามหมายค้น ในกรณีที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครอง หรือเจ้าพนักงานอื่น ผู้นั้นต้องดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับชำนาญการขึ้นไป ในกรณีที่เป็นตำรวจ ผู้นั้นต้องมียศตั้งแต่ชั้นพันตำรวจตรีขึ้นไป”

ปรับจากเดิมที่แค่ยศ “ร้อยตำรวจเอก”

 

 

 

 

 

 

RELATED ARTICLES