กฤษฎีกาผ่านร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติใหม่แล้ว

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาร่างกฎหมายเพื่อให้จัดทำกฎหมาย มีผลบังคับใช้ให้ทันต่อสถานการณ์เสร็จเรียบร้อยแล้วเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2561

รายชื่อร่างกฎหมายที่พิจารณาเสร็จ

น่าสนใจตรง ร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ….

ประกอบด้วย

ยุบเลิกกองบังคับการตำรวจรถไฟ ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยoeอัตรากำลังไปจัดสรรให้สถานีตำรวจและตำรวจภูธรจังหวัด

ยุบหรือเปลี่ยนแปลงกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบการปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้รับผิดชอบงานดังกล่าว

โอนงานอำนวยการความสะดวกในการจราจร การกวดขันวินัยจราจร และการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกให้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และเทศบาลนคร

ให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดระบบบริหารงานในสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อความเหมาะสมและความจำเป็นของแต่ละท้องถิ่นและชุมชน

แก้ไขโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน

กำหนดหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ และหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อเลื่อนตำแหน่ง

แยกสายงานสอบสวนออกมาต่างหากเพื่อให้พนักงานสอบสวนมีศักยภาพและเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสอบสวน

กำหนดองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ

กำหนดหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจและคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ

รวมถึง ร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. ….

ให้บังคับใช้เฉพาะกระบวนการสืบสวนและสอบสวนที่ข้าราชการตำรวจรับผิดชอบ

พนักงานสอบสวนในทุกท้องที่ มีหน้าที่และอำนาจรับคำร้องทุกข์ หรือคำกล่าวโทษ ไม่ว่าเหตุจะเกิดขึ้นในท้องที่ใด

ทรัพย์สินสูญหายเช่น บัตรประจำตัวประชาชน ใบอนุญาตขับขี่ โฉนดที่ดิน ทะเบียนสมรส หรือทะเบียนบ้าน ไม่ต้องแจ้งความ แต่ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ออกให้ใหม่ได้

ให้มีผู้ช่วยพนักงานสอบสวน (ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน) เพื่อให้การสอบสวนดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและครบถ้วนสมบูรณ์

การบูรณาการการสอบสวนร่วมกันระหว่างสถานีตำรวจและตำรวจภูธรจังหวัด

กำหนดการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ต้องหา ผู้เสียหาย พยานบุคคล และประชาชนผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้

-หากบุคคลสำคัญในพื้นที่ ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวน หรือหัวหน้าสถานีตำรวจได้รับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดอาญาในเรื่องใด ให้แจ้งข้อมูลเป็นหนังสือให้แก่พนักงานสอบสวน ซึ่งต้องนำมาพิจารณาประกอบการสอบสวน และรวมหลักฐานดังกล่าวไว้ในสำนวนด้วย

-ห้ามเจ้าพนักงาน หรือพนักงานสอบสวนนำตัวผู้ถูกจับมาออกแถลงข่าว หรือให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน ยกเว้นการทำแผนประกอบการรับสารภาพเพื่อประโยชน์ในทางคดี

-ห้ามเจ้าพนักงาน หรือพนักงานสอบสวนเผยแพร่ภาพหรือแถลงข่าวผู้ถูกจับกุม เนื่องจากยังไม่ผ่านการตัดสินโดยศาลและไม่ให้บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในสถานที่ที่ค้นซึ่งเป็นบ้านเรือนหรือสถานประกอบการ

ให้พนักงานอัยการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสอบสวนเพื่อความเป็นธรรมในคดีต่อไปนี้

-ความผิดอาญาที่มีอัตราโทษขั้นต่ำให้จำคุกตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป หรือโทษที่หนักกว่าในคดีเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การค้ามนุษย์ หรือคดีอื่นที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

-พนักงานสอบสวนต้องส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการภายในกำหนด (ก่อนวันครบกำหนดขังผู้ต้องหาครั้งสุดท้าย)

-พนักงานอัยการมีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติม หรือจะไปร่วมสอบสวนเพิ่มเติม หรือสอบสวนเพิ่มเติมเองก่อนมีคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องก็ได้

รอเวลาเข้าคณะรัฐมนตรีเสนอผ่าน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นกฎหมายประกาศลงในราชกิจจา ให้มีผลบังคับใช้

สมใจทีมงาน “ผ่าร่างองค์กรสีกากี” ในยุคที่มี “ทัพทหาร”กุมอำนาจ !!!

 

RELATED ARTICLES