ข้อเสนอแนะงานวิจัยเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปตำรวจ (1)

บทเรียนสำคัญจากการศึกษาการบริหารจัดการงานตำรวจและกฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทเรียนที่เป็นการปฏิบัติที่ดี

ทีมวิจัยของ พล.ต.ท.ปิยะ อุทาโย ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นำผลสรุปโครงการมาศึกษาเทียบเคียงการปฏิบัติของประเทศต่าง ๆ เพื่อนำมาสู่ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการบริหารจัดการงานตำรวจของไทย

เริ่มตั้งแต่กำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายการปฏิบัติในระยะยาวอย่างชัดเจน สอดคล้องกับทิศทางของการพัฒนาประเทศ รวมถึงแนวโน้มของปัญอาชญากรรมในอนาคตที่มีภัยคุกคามต่อความปลอดภัยสาธารณะของประชาชนรูปแบบใหม่เกิดขึ้น

เช่น อาชญากรรมข้ามชาติ การก่อร้าย อาชญากรรมทางไซเบอร์ การยักยอกหรือฉ้อโกงที่มีกลอุบายที่ซับซ้อน มีเทคโนโลยีและธุรกิจการลงทุน การทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง

มุ่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนและการปฏิบัติที่ตอบสนองการแก้ปัญหาให้แก่ประชาชน เน้นการป้องกันอาชญากรรมจากบทเรียนในประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความปลอดภัยของเมืองในระดับต้นของโลก คือ สิงคโปร์ มีการกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายในการปฏิบัติงานตำรวจที่เน้นการป้องกันอาชญากรรมมิให้เกิดขึ้น

  มีมาตรการป้องกันที่สาเหตุของอาชญากรรม

ขณะที่การพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างองค์กรตำรวจ ควรคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องและมีแนวทางการดำเนินการดังนี้

ปัญหาอาชญากรรมและภารกิจที่เกี่ยวข้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การกำหนดหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบใหม่ หรือภารกิจที่เพิ่มมากขึ้น หรือการปรับปรุงหน่วยงานที่มีอยู่เดิมให้สามารถรองรับภารกิจได้ เช่น การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ อาชญกรรมทางไซเบอร์ ภารกิจการประสานงานตำรวจระหว่างประเทศ การแสวงหาการมีส่วนร่วมจากประชาชน การสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างตำรวจกับภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคม

พิจารณาความสอดคล้องของโครงสร้างหน่วยงานระดับบน ระดับล่าง และระดับกลาง เพื่อให้การปฏิบัติในการกำหนดนโยบายนำไปใช้ระดับบนสู่ระดับล่าง หรือการนำเสนอนโยบายจากระดับล่างสู่ระดับบนมีสายงานที่ชัดเจน

การกระจายการบริการลงไปในพื้นที่ต่าง ๆให้ครอบคลุมให้มีสถานีย่อย หรือจุดบริการประชาชนในพื้นที่อย่างเพียงพอ

  เช่นเดียวกับ “การบริหารงานบุคคล”ต้องปรับปรุงเส้นทางการเติบโตในสายอาชีพของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

สร้างระบบที่เชื่อมโยงระหว่างกระบวนการสรรพหาคัดเลือก การพัฒนาและการแต่งตั้งโยกย้ายที่สอดคล้องกัน เพื่อเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ตำรวจแต่ละคนได้เติบโตในสายงานที่ตัวเองถนัด แบ่งสายงานให้ชัดเจนระหว่างเส้นทางสายงานทั่วไป และสายงานที่ต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะ และกำหนดหลักเกณฑ์การบรรจุ แต่งตั้งโยกย้ายและเลื่อนตำรวจที่ชัดเจน สามารถสร้างความเชี่ยวชาญให้เจ้าหน้าที่ตำรวจในแต่ละสายงานได้

ปรับปรุงระบบการแต่งตั้งโยกย้ายที่ส่งเสริมการพัฒนาตัวเองของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยการกำหนดกระบวนการพิจารณากลั่นกรองจากผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับ มีการประเมินหรือทดสอบด้านความรู้ ความสามารถ สมรรถนะทางร่างกาย และอื่น ๆ ประกอบการพิจารณา รวมทั้งมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือข้อมูลลักษณะอื่น ๆ จากภาคประชาชนในชุมชนท้องถิ่นเพื่อประกอบการพิจารณา

    พิจารณาทบทวนความเหมาะสมของเงินเดือน และค่าตอบแทนของเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับผู้ปฏิบัติให้มีความเหมาะสม สามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรี

เพิ่มสัดส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงเพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้บริการประชาชน หรือพนักงานสอบสวนหญิงในคดีที่เกี่ยวกับเพศหรือคดีเด็กและเยาวชน

ด้าน “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” ต้องส่งเสริมให้ระบบการศึกษาและฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นส่วนหนึ่งของ การปฏิรูปตำรวจ ในด้านการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ค่านิยม และอุดมการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ตำรวจที่เป็นวิชาชีพ

มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาให้ประชาชน การปกป้องชีวิตและทรัพย์สิน คุ้มครองสิทธิมุษยชน

สร้างเครือข่ายการฝึกอบรม การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในแต่ละระดับ รวมทั้งแลกเปลี่ยนด้านวิชาการกับหน่วยงานด้านการบังคับใช้กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมภายในประเทศ ร่วมถึงหน่วยงานในต่างประเทศยอ่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

ปรับปรุงแผนการฝึกอบรมเน้นการฝึกปฏิบัติ พัฒนาให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง มีสมรรถนะด้านการแก้ไขปัญหา การจัดสถานที่ อุปกรณ์ประกอบการฝึกอย่างเพียงพอสอดคล้องกับภารกิจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องออกไปปฏิบัติหลังจากจบการฝึกอบรมตามหลักสูตร

จัดระบบพัฒนาครู อาจารย์ วิทยากร ได้แก่ การสร้างระบบและแรงจูงใจให้ข้าราชการตำรวจที่มีประสบการณ์ในหน่วยปฏิบัติเข้ามาเป็นครู อาจารย์ หรือวิทยากร สับเปลี่ยนหมุนเวียนการพัฒนาทักษะ ศักยภาพของข้าราชการตรำรวจที่ทำหน้าที่วิทยากรของหน่วยฝึกอบรมต่าง ๆ

RELATED ARTICLES