กฎหมายพร้อมแล้วระบบกับผู้ปฏิบัติพร้อมหรือ

กฎหมายพร้อมแต่ผู้ปฏิบัติและระบบพร้อมแค่ไหน

หลังจากพรุ่งนี้ วันที่ 20 กันยายน 2562 ความวุ่นวายโกลาหลอาจเกิดขึ้นกลางท้องถนนหลวง เมื่อ พระราชบัญญัติจราจรทางบก ฉบับปรับปรุงแก้ไข พุทธศักราช 2562 มีผลบังคับใช้

เนื้อหาสำคัญ

ตำรวจไม่สามารถยึดใบอนุญาตขับขี่ได้อีกต่อไป

เมื่อมีการนำ “มาตรการตัดแต้ม” มาเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ หวังใช้ “ยาแรง” สร้างวินัยการใช้รถใช้ถนน

ผู้ได้รับ “ใบสั่ง” สามารถนำไปจ่ายที่โรงพักใดก็ได้ทั่วประเทศ ไม่การเปรียบเทียบปรับ ณ จุดตั้งด่าน

ยกตัวอย่างการต่อภาษีรถประจำปี หากกรมการขนส่งทางบกตรวจพบ มีใบสั่งค้างชำระ เช่น โดนกล้องฝ่าไฟแดง ขับเร็วเกินกฎหมายกำหนด กรมการขนส่งจะออกใบแทนใบต่อภาษีชั่วคราวให้ 30 วัน ให้ไปจ่ายใบสั่งที่ค้างภายใน 30 วัน หลังจากจ่ายครบขนส่งจะให้ใบจริงให้

ว่ากันว่า พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับ สามารถ “ว่ากล่าว” ได้ 1 ข้อหาต่อ 1ปี หรือ 1คดีเท่านั้น แต่สุดท้ายจะไปหักคะแนนคนขับอยู่ดี

ทุกคนมี 12 คะแนนเท่ากัน หากตัดแต้มครบจะต้องถูกพักใบอนุญาต 90 วัน   

ค่าปรับจะมีราคาเดียวกันทั่วประเทศ สามารถจ่ายค่าปรับผ่านตู้เอทีเอ็มของธนาคารกรุงไทย หรือจ่ายผ่านระบบ “โมบายแบงก์กิ้ง” ของโทรศัพท์มือถือ ตู้บุญเติม ไปรษณีย์

ถึงกระนั้น มาตรการพักใบอนุญาตขับขี่และมาตรการตัดแต้มอยู่ระหว่างร่าง “กฎหมายลูก” ออกมารองรับภายใน 90 วัน มีผลบังคับใช้วันที่ 19 ธันวาคม 2562

แต่ปัญหาเฉพาะหน้าเวลานี้กำลังอยู่ที่ผู้ปฏิบัติ คือ เหล่า “ตำรวจหัวปิงปอง” แม้มีอำนาจเรียกดูใบอนุญาตขับขี่ที่สามารถทำได้เหมือนเดิม ทว่าการแสดงใบอนุญาตของผู้ขับขี่ พระราชบัญญัติจราจรทางบกระบุว่า สามารถแสดงใบอนุญาตขับขี่แบบเดิม หรือใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอพพลิเคชั่น กรมการขนส่งทางบก หรือสำเนาใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์ที่มี “คิวอาร์โค้ด”

 ปัญหาที่ว่าเกิดขึ้นเมื่อปัจจุบัน ตำรวจจราจรตามท้องถนนจำนวนไม่น้อยไม่มีอุปกรณ์เครื่องมือการอ่าน “คิวอาร์โค้ด” ตามแอพพลิเคชั่นของกรมการขนส่งทางบก

แถมการเข้าระบบ “คิวอาร์โค้ด” เฉพาะตัวบุคคล ยังต้องเข้ารหัสผ่านแอพพลิเคชั่นของกรมการขนส่งทางบก และมีรหัสผ่านของตัวเอง บริเวณนั้นจำเป็นต้องมีสัญญาณอินเตอร์เน็ต สัญญาณโทรศัพท์ประกอบการใช้อุปกรณ์

เมื่อหากตรวจสอบ “คิวอาร์โค้ด” แล้วไม่ตรงข้อมูลกับใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์ ตำรวจต้องมีการคุมตัวเจ้าของรถไปสอบปากคำที่โรงพักพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่า เป็นตัวตนตามใบอนุญาตขับขี่หรือไม่ ใบอนุญาตขับขี่มีการปลอมแปลง “สวมรอย” หรือไม่

ทำไปทำมาเสียเวลาทั้ง “คนเรียก” และ “คนถูกเรียก”

ผู้บังคับบัญชาต่างเป็นกังวล กลัวไม่พ้นพฤติกรรมเดิม

เจ้าของรถยอมเสียค่า “ลัดเวลา” ไม่ยอมลงบันทึกให้เสียประวัติ

ในเมื่อกฎหมายมันแรง ค่าปรับ (นอกระบบ)ย่อมแพงขึ้นเท่าตัว

 

 

RELATED ARTICLES