การบ้าน 35 ข้อของแม่ทัพ

นโยบาย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 ที่เจ้าตัวมอบไว้แก่ข้าราชการตำรวจระดับผู้บังคับการขึ้นไป

ถือเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิตรับราชการของเขา

ท่ามกลางความหวังที่อยาก “ฝากการบ้าน” ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาขับเคลื่อนองค์กรไปในทิศทางที่ดีในอนาคต

สรุปมีทั้งหมด 35 หัวข้อสำคัญ

  1. ภารกิจหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และข้าราชการตำรวจทุกนาย คือ การถวายความปลอดภัย

2. ดูแลความเป็นอยู่ของประชาชน

3. จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ 19 ศูนย์ ประกอบด้วย การบริหารงาน การพัฒนา งานป้องกันปราบปราม อาชญากรรมพิเศษ มีรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้ขับเคลื่อน

  1. ป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดโดยใช้โซเชียลมีเดีย รวมถึงขบวนการเฟกนิวส์
  2. พัฒนาอุปกรณ์การทำงาน และส่งเสริมความรู้ ด้านเทคโนโลยีแก่ข้าราชการตำรวจ มอบทุนการศึกษาไปอบรมในต่างประเทศ
  3. การสร้างศูนย์ Digital Forensics เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านนิติวิทยาศาสตร์
  4. การรับแจ้งความออนไลน์และบริหารจัดการคดีในโลกโซเชียล เพื่ออำนวยความสะดวกกับผู้เสียทาย และรวมคดีทั่วประเทศ (CaseManagement)
  5. ปราบปรามยาเสพติด มุ่งเน้นลด Demand Size สร้างสถานบำบัดอย่างเป็นระบบ บูรณาการกับทุกภาคส่วน (ชุมชนบำบัด) วัดผลโดยดูจากจำนวนผู้กลับเข้าสู่สังคม และใช้ “พีเพิลโพล” ประเมินความสำเร็จ
  6. ตำรวจทำดี ต้องได้ดี หากทำผิด ต้องได้รับโทษ (ตามคำสั่ง 1212) ด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส รวดเร็ว
  7. ผู้กำกับการ หรือหัวหน้าสถานีตำรวจ ต้องดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งการทำงานและชีวิตส่วนตัว
  8. ให้ผู้บังคับบัญชาดูแลเรื่องหนี้สินตำรวจ โดยการเจรจาลดหนี้สินตำรวจกับสถาบันการเงิน
  9. พัฒนามาตรฐานวิชาชีพในทุกด้าน (งานป้องกันปราบปราม งานจราจร งานสืบสวน งานสอบสวน)
  1. กำหนดเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งโดยการทดสอบความรู้ความสามารถ
  2. พัฒนางานสอบสวน และเพิ่มผู้ช่วยพนักงานสอบสวน เพื่อให้มีขวัญและกำลังใจ
  3. ให้หัวหน้าสถานีลงไปกำกับดูแลงานสอบสวน ไม่ใช่แค่เรื่องกฎหมาย แต่รวมถึงการให้บริการประชาชนด้วย
  4. ตำรวจที่ประชาชนต้องการ คือ ปฏิบัติหน้าที่หลักและหน้าที่รอง ร่วมกับทุกฝ่าย สามารถใช้กฎหมายเป็น และมียุทธวิธีตำรวจ
  5. พัฒนาบุคลากรโดยการรับบุคลากรและวัด Attitude Test ทั้งนายร้อยตำรวจและนายสิบตำรวจ
  6. พัฒนา Application “แทนใจ” เป็นผู้ช่วยด้านสวัสดิการ สิทธิที่พึงมีพึงได้ให้กับข้าราชการตำรวจ ให้ตำรวจสามารถร้องเรียนความไม่เป็นธรรมโดยตรงถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  7. พัฒนายุทธวิธีตำรวจให้เป็นมาตรฐานสากล และความปลอดภัยของตัวเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ
  8. จูงใจให้ตำรวจพัฒนามาตรฐานการทำงานของตัวเอง
  9. ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับรับรองความประพฤติของผู้ใต้บังคับบัญชาที่ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด
  10. ประเมินความโปร่งใส ITA ตามมาตรฐานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  11. สร้างบ้านพักสวัสดิการให้แก่ข้าราชการตำรวจหลังเกษียณ
  12. พัฒนาศูนย์ฝึกอบรมทั่วประเทศ และสร้างโรงบรรจุกระสุน
  13. พัฒนางานสืบสวนให้เป็นมืออาชีพ
  14. พัฒนางานเทคโนโลยีที่เหมาะสม กับการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น โครงการ Smart Safety Zone 4.0 โครงการติดตั้งกล้อง CCTV
  15. พัฒนาศูนย์จราจร ใช้เทคโนโลยีบันทึกความผิดจราจร เพื่อลดขั้นตอนและเพิ่มความสะดวกแก่ประชาชนที่จะมาชำระค่าปรับ
  16. ทำบันทึกข้อตกลงกับกรมการขนส่งทางบกเพื่อนำค่าปรับมาสนับสนุนการทำงานของตำรวจ
  17. แก้ต้นเหตุความขัดแย้งในคดีความมั่นคง และใช้กฎหมายเพื่อควบคุมการใช้ความรุนแรง (เห็นต่างได้ แต่ไม่ใช้ความรุนแรง และตำรวจต้องไม่เป็นผู้สร้างเงื่อนไข) ใช้กฎหมายอย่างมีศาสตร์และศิลป์ ด้วยความพอดี ไม่สร้างเงื่อนไข
  18. ปรับยุทธวิธี/ความหนักเบาในการปฏิบัติต่อกลุ่มผู้ชุมนุมที่มีความเห็นต่าง
  19. การทำคดีเกี่ยวกับความผิดในโลกโซเชียล ต้องใช้ความรู้ความสามารถให้เท่าทันกับผู้ที่กระทำความผิด
  20. ประชาชนฝากความหวังไว้กับตำรวจ ไม่เพียงแค่เรื่องกฎหมาย แม้ว่าประชาชนจะตำหนิ เราต้องใช้ความอดทนในการปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดกำลังความสามารถ
  21. ขอให้ผู้บังคับบัญชาเป็น “ต้นแบบ” ที่ดีให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา และนำเอาตัวอย่างของผู้ประสบความสำเร็จมาพัฒนาตนเอง เพื่อส่งต่อรุ่นสู่รุ่น (Successor)
  22. ตำรวจรุ่นใหม่มีความรู้ความสามารถมาก ต้องให้พวกเขาเป็น “ต้นแบบ” ของรุ่นต่อไปได้  ตำรวจรุ่นพี่ต้องเป็นที่ปรึกษาที่ดีให้กับตำรวจรุ่นน้อง และมีความสามัคคีในหมู่คณะ (ความแตกแยกแก้ไขได้ด้วยการสื่อสารให้เข้าใจกัน)
  1. กระตุ้น Learning by Doing การให้ความหวัง กำลังใจ กำหนดทิศทาง การให้คุณให้โทษโดยชัดเจน

“ครูที่ดีที่สุดในชีวิต คือ บทเรียนความล้มเหลวที่ผ่านมาในอดีต” พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ย้ำ

อยู่ที่ “แม่ทัพหน่วย” จะนำไปขยายความถ่ายทอดให้ “นายกอง” และขุมกำลังไพร่พล รับทราบมาน้อยแค่ไหน

“คงเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิตราชการของผม ฝากไว้ว่า นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดีประดับไว้ในโลกา”

โลกนี้ไม่มีใครเอาอะไรไปได้ ทิ้งไว้แต่ความเป็นตัวของเราให้คนรุ่นหลังเห็น

เราทำอะไรไว้ให้แก่องค์กรอย่างไร

RELATED ARTICLES