ตราพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติฉบับใหม่ (2)

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติฉบับ “มีชัย” ภายใต้ รัฐบาลเผด็จการทหาร คือ อะไร

เชื่อว่าหลายคนคงได้ศึกษามาเกือบหมดแล้ว ขณะที่หลายคนไม่มีเวลามากพอจะอ่านเนื้อหาอะไรที่ยาวเหยียดและเต็มไปด้วยภาษากฎหมาย

ไม่ใช่นวนิยายสืบสวนสอบสวนตื้นเต้นเร้าใจในฉากบู๊ล้างผลาญ

ต้องเริ่มทำความเข้าใจตั้งแต่ ลักษณะ 1 บททั่วไป

สะดุดน่าสนใจ มาตรา 7 ในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญที่มิใช่พระบรมวงศานุวงศ์ ให้ข้าราชการำตรวจมีหน้าที่รักษาความปลอดภัย เฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งที่คณะรัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้เป็นอำนาจของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในการออกคำสั่งแต่งตั้ง

ในการออกคำสั่งแต่งตั้งให้ข้าราชการตำรวจมีหน้าที่รักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญดังกล่าวนั้น ให้เป็นไปตามความสมัครใจของข้าราชการตำรวจผู้ถูกสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวและให้ข้าราชการตำรวจดังกล่าวออกจากส่วนราชการเดิมไปดำรงตำแหน่งในกองบังคับการตำรวจสันติบาล

คำสั่งดังกล่าวต้องออกคำสั่งย้ายข้าราชการตำรวจในส่วนราชการนั้นแทนข้าราชการตำรวจผู้ถูกส่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่เป็นการทดแทนด้วย

เมื่อบุคคลสำคัญดังกล่าวพ้นจากการดำรงตำแหน่งให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติส่งตัวข้าราชการตำรวจที่ไปรักษาความปลอดภัยนั้นคืนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภายใน หนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับตั้งแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง

เว้นแต่ในกรณีที่บุคคลสำคัญนั้นเป็นผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่มิเคยถูกศาลมีคำพิพากษาลงโทษจะสั่งให้ข้าราชการตำรวจผู้นั้นมีหน้าที่รักษาความปลอดภัยต่อไปได้

ส่วนมาตรา 9 ระบุว่า ข้าราชการตำรวจมี 2 ประเภท ได้แก่

1.ข้าราชการตำรวจที่มียศ ได้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 45

2.ข้าราชการตำรวจที่ไม่มียศ ได้แก่ ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการแพทย์ การพยาบาล การพิสูจน์หลักฐาน และการสอนในกองบัญชาการศึกษา โรงเรียนนายร้อยตำรวจ หรือสถาบันการศึกษาอื่นในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เฉพาะที่เกี่ยวกับการสอนวิชาที่คณะกรรมการตำรวจแห่งชาติกำหนด หรือหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

กระโดดข้ามไป ลักษณะ 3 คณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ ย่อว่า “ก.ตร.” ที่เดิมใช้เรียกชื่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ

  มาตรา 14 ยังคงมีนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลเป็นประธานกรรมการ

ส่วนกรรมการ ประกอบด้วย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติด้านป้องกันและปราบปราม ด้านการสอบสวน และด้านบริหาร ที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งด้านละหนึ่งคน และจเรตำรวจแห่งชาติ

นอกจากนี้ยังมี อัยการสูงสด เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม  และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่จะมีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี แต่ให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียวอีก 8 คน

มีมาตรา 15 รองรับให้อำนาจคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารราชการตำรวจ กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ปฏิบัติตามกฎหมาย นโยบายยุทธศาสตร์ชาติ มติคณะรัฐมนตรี ระเบียบแบบแผน

รวมทั้งให้มีหน้าที่และอำนาจมากมายเกี่ยวกับการบริหาร  อาทิ ออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ และมีมติเกี่ยวกับการบริหารราชการตำรวจ กำหนดกระบวนการและขั้นตอนการกระจายอำนาจระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับกองบัญชาการ ตำรวจภูธรภาค และราชการส่วนท้องถิ่น

ที่สำคัญคือ พิจารณาดำเนินการคัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาดำเนินการแต่งตั้งเป็น ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เช่นเดียวกับ กำกับดูแลการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจผู้บังคับบัญชาทุกขั้นตอน

ประเด็นหลักในมาตรานี้ระบุไว้ด้วยว่า ในกรณีที่พิจารณาเห็นว่าการปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้มีมติสั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติปฏิบัติการให้ถูกต้องเหมาะสม

ถ้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่ปฏิบัติตามมติดังกล่าว ให้รายงานต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและสั่งการต่อไป

ในการนี้ ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ

พ้นจากตำแหน่งได้ !!!

RELATED ARTICLES