ร่างกฎหมายฉบับใหม่ในมุมมองของสภาทนายความ

ไม่รู้ว่าตำรวจตระหนักดีน้อยแค่ไหน

หลังจากคณะรัฐมนตรีผ่าน ร่างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เตรียมเสนอฝ่ายนิติบัญญัติพิจารณาตามลำดับ

ตีกรอบกำหนดกฎเหล็กเพิ่มมากขึ้น

ถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมในยุครัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ขอทบทวนประเด็นสำคัญในการแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎหมายฉบับนี้

สรุปใจความ

มาตรา 13/1 การค้นในที่รโหฐาน เจ้าพนักงานตำรวจผู้ค้นต้องบันทึกภาพ หรือวิดีโอขณะค้น

มาตรา 13/2 ห้ามตำรวจ ผู้จับ นำผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหาออกแถลงข่าวหรือจัดให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน

มาตรา 117/1 ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยหลบหนีในระหว่างประกัน ห้ามนับระยะเวลาที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ หรืออีกนัยคือไม่หมดอายุความ

มาตรา 117/2  ผู้ต้องหา หรือจำเลยหลบหนีจากการปล่อยชั่วคราวมีโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 ศาลพิจารณาคดีโทษนั้นได้ ไม่ต้องฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่

มาตรา 134  การร้องทุกข์ กำหนดให้สามารถร้องทุกข์นอกเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนได้

มาตรา 121/1 กำหนดให้มีการร่วมสอบสวนระหว่างพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ เฉพาะในคดีอัตราโทษเกิน 10ปี หรือคดีที่กำหนดท้ายประมวล

มาตรา 124/2 ร้องทุกข์ทางไปรษณีย์หรืออีเล็กทรอนิกส์ได้

มาตรา 136 คดีโทษ 5ปี ขึ้นไป สอบสวนต้องบันทึกภาพและเสียง

มาตรา 136/1 พนักงานสอบสวนอาจเสนอความเห็นต่อพนักงานอัยการในการกันผู้ต้องหาคนหนึ่งคนใดไว้เป็นพยาน เพื่อให้มีพยานหลักฐานนำไปสู่การดำเนินคดีกับผู้ร่วมกระทำความผิดคนอื่นที่ได้

มาตรา 161/1 การกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการฟ้องคดีและดำเนินคดีอาญาในกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องกันเอง กรณีใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตหรือโดยบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบจำเลยหรือโดยมุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่งกว่าประโยชน์ที่พึงได้โดยชอบ

มาตรา 165/1 คดีที่ไต่สวนมูลฟ้องจำเลยเลยอาจแถลงให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอันสาคัญที่ศาลควรสั่งว่า คดีไม่มีมูล และแถลงถึงตัวบุคคล เอกสาร หรือวัตถุที่จะสนับสนุนข้อเท็จจริงตามคำแถลงของจำเลยด้วยก็ได้ และศาลอาจเรียกบุคคล เอกสาร หรือวัตถุดังกล่าวมาเป็นพยานศาลเพื่อประกอบการ วินิจฉัยสั่งคดีได้ตามที่เห็นสมควร

ยังไม่มีเห็นของตำรวจเป็นทางการ

แต่ ว่าที่ พ.ต.สมบัติ วงศ์กำแหง โฆษกสภาทนายความ ออกมาแสดงความเห็นแล้ว

เจ้าตัวมองในมุมนักกฎหมายอีกฟากว่าร่างกฎหมายดังกล่าวจะเป็นการคุ้มครองผู้ต้องหา หรือจำเลยมากขึ้น โดยเฉพาะการบันทึกวีดีโอ ขณะค้น /การบันทึกภาพและเสียง การสอบสวน

เขาชี้ให้เห็นว่า ผู้ร่างกฎหมายต้องการลดทอนความเขื่อมั่นในตัวพนักงานสอบสวน สร้างโปร่งใสในการดำเนินการของพนักงานสอบสวน หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจมากขึ้นในการพิสูจน์ความยุติธรรมในชั้นศาล

“อนาคตต้องมีการนำเสนอวิดีโอ และภาพถ่ายพร้อมเสียงประกอบการพิสูจน์การกระทำความผิดของจำเลย ดังนั้นจำเลยจะไม่อาจกล่าวอ้างว่า การค้น มีการยัดของกลาง หรือการสอบสวนมีการซ้อมหรือข่มขู่ น่าจะทำให้การทำงานของเจ้าพนักงานน่าเชื่อถือมากขึ้น” โฆษกสภาทนายความว่า

ถึงกระนั้น การคุ้มครองผู้ต้องหาหรือจำเลย ต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ด้วย

อีกข้อดี คือ การร้องทุกข์จะสามารถทำได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น การปฏิเสธ หรือบ่ายเบี่ยงไม่รับแจ้งความจะไม่สามารถทำได้

ถือเป็นการปัญหาเรื้อรังของพนักงานสอบสวนที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา

ทว่าโฆษกสภาทนายความกลับกังวลเหมือนกันว่า การแก้ร่างกฎหมายฉบับนี้จะปฏิรูปกระบวนการทำงานของพนักงานสอบสวน หรือตำรวจได้จริงหรือไม่

 จะส่งผลให้ “ตำรวจน้ำดี” ต้องเสียกำลังใจในการทำงานด้วยหรือเปล่า

 

 

 

 

 

RELATED ARTICLES