พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.วสันต์ เตชะอัคร, พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล พ.ต.อ.วรพจน์ รุ่งกระจ่าง รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล สั่งการให้ พ.ต.อ.จักราวุธ คล้ายนิล ผู้กำกับการวิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษกองบังคับการสืบสวนสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล พ.ต.ท.พัชรพงษ์ กาญจนวัฎศรี, พ.ต.ท.นิธิ ปิยะพันธุ์ รองผู้กำกับการวิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษกองบังคับการสืบสวนสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล พ.ต.ท.พิทักษ์ ศรีกะแจะ ผู้กำกับการวิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษกองบังคับการสืบสวนสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล นำกำลังชุดปฏิบัติการที่ 3 จับกุม นายรังสรรค์ สำเภา อายุ 50 ปี ชาวจังหวัดปทุมธานี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรี ที่ 588/ 2565 ลงวันที่ 21 ก.ย. 65 ข้อหา”ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นบุคคลคนอื่นและโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น”
เดือนมีนาคม 2565 เวลา 15.00 มีโทรศัพท์ติดต่อมาหาผู้เสียหาย แจ้งว่าเป็น จนท.DHL ตอนนี้มีพัสดุชื่อของผู้เสียหาย ติดค้างอยู่ที่กรมศุลกากร เนื่องจากตรวจพบมี สมุดเดินทาง14เล่ม และ บัตรATM18ใบ ซุกซ่อนในกล่องพัสดุ ต้องทำการตรวจสอบและส่งรายงานให้ สภ.เมืองเชียงใหม่ จากนั้นมีการติดต่อจากมิจฉาชีพ อ้างตนว่า เป็น จนท. ตำรวจ ชื้อ ร.ต.ต. ติดต่อมาเพื่อให้ ผู้เสียหายพูดคุยทางแอปพลิเคชั่นไลน์ แจ้งว่า ผู้เสียหายมีคดีเกี่ยวกับ “การฟอกเงิน“ เนื่องจากตอนนี้ได้จับกุมคนร้าย พบเส้นการเงินสัมพันธ์กับผู้เสียหาย พร้อมส่งบัตร ประจำตัว พร้อมหมายศาล มาทางไลน์ให้ผู้เสียหายดู และแจ้งผู้เสียหายว่าจะต้อง ”อายัดทรัพย์สิน“ต้องทำการโอนเงิน ให้ยัง ปปง.ตรวจสอบ หากโอนมาให้ตรวจสอบเสร็จสิ้นจะโอนกลับยังผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อทำการโอนเงินเข้าบัญชี ผู้ต้องหา เป็นจำนวน 20ครั้ง มูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 7,357,000 บาท เมื่อโอนเงินเสร็จแล้ว มิจฉาชีพแก๊งนี้ก็ตัดขาดการติดต่อ ทำให้ผู้เสียหายคิดว่าตนถูกมิจฉาชีพหลอกลวง จึงเข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลท่าข้าม สืบทราบว่า บัญชีปลายทางดังกล่าว จดทะเบียนในชื่อของนายรังสรรค์ ผู้ต้องหารายนี้ กระทั่งสืบทราบว่า เข้ามาสมัครงาน ในพื้นที่เขตราชเทวี กรุงเทพฯ จึงนำกำลังติดตามจับกุมได้ดังกล่าว
สอบสวน ผู้ต้องหา ให้การรับสารภาพว่า เปิดบัญชีให้กลุ่มนายทุนที่รู้จักกัน เล่าว่าช่วงสถานการณ์โควิดในปี2563 ตนตกงานไม่มีงานทำ ทำให้ขัดสนในค่าเช่าบ้าน ตนจึงขายบัญชีธนาคารพร้อมซิมโทรศัพท์มือถือ 5ซิม” ได้เงินเพียง 3,000 บาท พร้อมกับพาตนไปที่ ร้านสะดวกซื้อ ใกล้ๆบ้าน จากนั้นใช้บัตรประชาชนของตน จดทะเบียนซิมพร้อมตนยอมรับว่า ตนเป็นผู้สแกนใบหน้าด้วยการยืนยันบัตรประชาชน จนช่วงปลายปี2566 ตนได้ทราบข่าวว่านายทุนดังกล่าวที่ตระเวนหาคนเปิดบัญชี ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมแล้ว ปัจจุบันลูกชายอายุ 30 ปี ก็ตกเป็นผู้ต้องขัง ในเรือนจำ เนื่องจากขายบัญชีพร้อมๆกัน ให้กลุ่มนายทุน ผู้ต้องหายังบอกอีกว่า ตนทราบว่ามีหมายเรียกมายังบ้านที่ จึงไม่ได้ไปตามหมายเรียก พอตนว่างงานก็ตระเวนหาสมัครงาน จนในวันนี้เดินทางจากหนองเสือ จว.ปทุมธานี เข้ามาย่านสุขุมวิท กรุงเทพฯเพื่อหางานทำ จากการตรวจประวัติยังพบมีหมายจับในลักษณะเดียวกันนี้อีก 3 หมายในพื้นที่จังหวัดราชบุรี, จังหวัดบึงกาฬ, จังหวัดสระบุรี
พล.ต.ต.ธีรเดช ฝากเตือนประชาชน ปัจจุบันกลุ่มมิจฉาชีพอ้างเป็นไปรษณีย์โทรศัพท์หลอกลวง ว่า มีพัสดุตกค้าง และเกี่ยวข้องกับคดีฟอกเงิน หลอกขอข้อมูลส่วนตัว และให้เหยื่อโอนเงินไปให้ตรวจสอบ มีประชาชนยังหลงเชื่ออยู่เป็นจำนวนมาก แนะนำว่า ควรติดต่อหน่วยงานราชการด้วยตนเองอีกครั้งหรือปรึกษากับคนในครอบครัว ไม่ควรเชื่อข้อมูลจากบุคคลในโทรศัพท์ เพื่อไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อแก๊งมิจฉาชีพ จึงขอฝากเตือนภัยประชาชนให้ทราบโดยมีวิธีการรับมือเบื้องต้นดังนี้ ไม่หลงเชื่อข้อมูลทางโทรศัพท์ทางเดียว ให้ติดต่อกลับ หน่วยงานราชการที่ได้รับอ้างถึงเพื่อตรวจสอบข้อมูลทางการเงินเป็นความลับ ต้องไม่ให้ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลการทำธุรกรรม Online, รหัส OTP ที่ได้รับผ่าน SMS เด็ดขาด ห้ามโอนเงินตามคำบอกเด็ดขาด