วันคืนความยุติธรรม

 

ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและอุทธรณ์

“จำคุกตลอดชีวิตจำเลย” นายจุมพล สุภาพงษ์  อายุ 56 ปี อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนฆาตกรรมโหด “น้องหลิว” สาวโรงงานวัย 19 ปีหมกไร่อ้อย อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

มูลนิธิกระจกเงา สรุปรายละเอียดของคดีเริ่มต้นปี 2555 “น้องหลิว” ออกจากบ้านไปทำงานที่นิคมอุตสาหกรรม 304 ปราจีนบุรีจากนั้นหายตัวไปอย่างลึกลับนาน 8 ปี ครอบครัวแจ้งเรื่องมาที่มูลนิธิกระจกเงาให้ช่วยตามหาลูกสาวที่หายไป

ครอบครัวเป็นชาวบ้านธรรมดาไม่รู้จะทำอย่างไรในการตามหา ประกอบกับมีคนส่ง sms ลวงว่า “น้องหลิว” ไปทำงานต่างประเทศที่บ้านไม่ต้องเป็นห่วง ทำให้ครอบครัวรอ “น้องหลิว” กลับมา

มูลนิธิกระจกเงาเริ่มต้นจากประสานงานตรวจข้อมูลในระบบราชการทั้งหมด ไม่พบความเคลื่อนไหวใดๆ ไม่พบการเดินทางออกนอกประเทศ และเมื่อประเมินจากข้อมูลเชิงลึก ถึงเรื่องราวก่อนหายตัวไป คาดว่า “น้องหลิว” อาจไม่มีชีวิตอยู่แล้ว

พวกเขาวางแผนค้นหา “ศพนิรนาม” ตระเวนไปตามโรงพยาบาลต่างๆ เกือบ 10 แห่งในพื้นที่ 4 จังหวัด ในรัศมี 200 กิโลกรัมจากจุดสุดท้ายที่หายไปเพื่อขอดูข้อมูลศพนิรนามเพศหญิงในห้วงปี 2555-2558

พบข้อมูลศพนิรนามทั้งหมด 3 ศพ แต่มีอยู่ 1 ศพที่ใกล้เคียง “น้องหลิว”ที่สุด จากห้วงเวลาที่พบศพใกล้กับช่วงที่น้องหลิวหายตัวไป

ศพดังกล่าวมีรอยสักที่ข้อเท้าเหมือนกับรอยสักของ “น้องหลิว”

กระทั่งผลดีเอ็นเอยืนยันศพหญิงนิรนามที่ถูกยิงและทิ้งไว้ในไร่อ้อย อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว คือ “น้องหลิว” ที่หายตัวไปกว่า 8 ปี

ความยากของคดีอยู่ที่พยานหลักฐานที่ลบเลือนตามกาลเวลากว่า 8 ปี และผู้ต้องสงสัยซึ่งคบหากับ “น้องหลิว” เป็นข้าราชการผู้ใหญ่

ทีมงานมูลนิธิกระจกเงาเริ่มต้นคดีประสานตำรวจสอบสอบสวนกลางลงพื้นที่ร่วมสืบสวนสอบสวน

ที่สำคัญ ตำรวจสถานีตำรวจภูธรวัฒนานครได้ทำสำนวนสืบสวนสอบสวนอย่างละเอียดรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง

ขอศาลอนุมัติออกหมายจับผู้ต้องหาและแสดงพยานหลักฐานรัดกุมแน่นอนจนศาลเชื่อว่าจำเลยกระทำผิดจริง

สิ้นสุดการรอคอยที่ยาวนานกว่า 12 ปีนับตั้งแต่ที่พบศพจนได้รับความยุติธรรม

ศพนิรนามได้กลับมามีชื่อนามสกุล คนหายได้กลับบ้านและคืนความยุติธรรมให้ครอบครัว “น้องหลิว”

ทว่าสะท้อนบทเรียนคนหายกลายเป็นศพนิรนามถูกฆาตกรรม

ตั้งแต่ รับแจ้งคนหาย ถ้าไม่วิเคราะห์ ไม่สงสัย ไม่มีทางเจอ วิเคราะห์ข้อมูลจากครอบครัว เพื่อนสนิท และพฤติกรรมคนหาย

ลงพื้นที่ค้นหาศพไม่ทราบชื่อ รัศมี 200 กิโลเมตรจากจุดสุดท้ายที่หาย เจอข้อมูลศพนิรนาม 3 ราย ต้องไปตามหาดีเอ็นเอศพเหล่านั้นต่อ

พบอุปสรรคข้อมูลศพนิรนามเข้าถึงยาก ทำให้ความยุติธรรมเข้าถึงยากเช่นกัน  ไม่ต่างการเก็บดีเอ็นเอแม่เทียบศพ เป็นขั้นตอนยากที่ชาวบ้านธรรมดาทำไม่ได้เอง

เจอศพแล้ว ต้องทำงานสืบเงียบๆร่วมกับตำรวจนับเดือน ไม่ให้คนร้ายไหวตัว

ทำแค่ออกหมายจับไม่พอ แต่พยานหลักฐานต้องให้ศาลลงโทษได้

ผลดีเอ็นเอตรง แต่ไม่ได้ศพน้องหลิวคืน เพราะศพถูกล้างป่าช้าไปแล้ว

ศาลเชื่อว่าทำความผิดจากพยานหลักฐานตำรวจที่เชื่อมโยงรอบคอบ

ความยุติธรรมปล่อยให้ชาวบ้านสู้เพียงลำพังไม่ได้

“ผมขอให้เครดิตการรวบรวมพยานหลักฐานของตำรวจ จนเชื่อว่า ผู้ต้องหาก่อเหตุจริง” นายเอกลักษณ์ หลุ่มชมแข หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงาบอก

คดีนี้ถูกเริ่มเมื่อผ่านไป 8 ปีหลังก่อเหตุ มีแต่เรื่องยาก หากสำนวนการสืบสวนสอนไม่รัดกุมรอบคอบ คนร้ายลอยนวลแน่

เจ้าตัวว่า วันหายกับวันที่คนร้ายเจอผู้ตาย วันเดียวกันไหม ใครจะจำได้ แต่การสอบสวนระบุได้ชัด เพราะวันนั้นคือ “วันฉัตรมงคล” โรงงานไม่หยุด พยานจึงจำวันได้ ไปไล่ตามการตอกบัตรของผู้ตายย้อนหลัง

พยานจำรายละเอียดคนหายได้อย่างไร เพราะรู้จักกันมานาน สำนวนบอกบ้านห่างกันแค่ 1 กม.เรียนโรงเรียนเดียวกัน จดจำเสียงผู้ตายที่รอดผ่านโทรศัพท์ได้แน่นอน

ได้สอบปากคำแพทย์นิติเวชวิทยาเพิ่ม วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงหลังความตายจากภาพถ่าย และบริบทพื้นที่ เป็นไร่อ้อย มีตัวเร่งปฏิกิริยา มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงศพ เพราะโต้แย้งเรื่องวันเกิดเหตุกัน

ตายนานแล้วหรือเพิ่งตาย

แม้ไม่เจอปืนที่ก่อเหตุ แต่จำเลยมีปืนรุ่นเดียวกับกระสุนที่ฝังในร่างผู้ตาย   ตำรวจก็ไปค้นบ้านงมบ่อน้ำเจอกระสุนที่ยิงแล้ว จำนวนเกลียวและร่องลักษณะเดียวกันกับที่อยู่ในร่างผู้ตาย

ไม่เจอปืน แต่เจอซองปืนขนาดเดียวกับที่กระสุนฝังในร่างผู้ตาย ก็เอาซองปืนไปตรวจพิสูจน์ พบเขม่าดินปืน เชื่อได้ว่าเป็นปืนที่เคยใช้ยิงกระสุนแน่นอน

ตำรวจยังพบความสัมพันธ์ของจำเลยที่คบหากันมานาน มีรายละเอียดความหึงหวงให้บันดาลโทสะรุนแรง

“ผมอยู่ในเหตุการณ์ตั้งแต่ตามหาคนหาย พบศพ และการนำเรื่องเข้าสู่การดำเนินคดี ใครๆก็พูดว่าผู้ก่อเหตุหลุดแน่นอน เรื่องเกิดนาน พยานหลักฐานไม่มี” นายเอกลักษณ์ไม่ถอดใจ “ผมเห็นตำรวจคนหนึ่ง สอบปากคำพยานด้วยตัวเองหลายปาก ตั้งแต่เช้ายันค่ำหลายวัน จัดกำลังไปสืบสวนสอบสวนพยานแวดล้อมและพยานผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม ไปให้การด้วยตัวเองในชั้นศาล  เชื่อว่าความละเอียดรอบคอบนี้ ทำให้คืนความยุติธรรมในแง่กฎหมายให้ครอบครัวผู้ตาย”

เขาขอบคุณ พ.ต.อ.สาธิต มิตรรัก ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรวัฒนานคร จังหวัดสระแก้วเจ้าของคดีในขณะนั้น

ทำให้การรอคอยมีวันสิ้นสุด

 

RELATED ARTICLES