มุมของชีวิตจริง

 

 

ตอบรับคำเชิญจากนายวิธาน พรหมสินธุศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ และนายชนะชาย นิมิตรพงศ์ศักดิ์ นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเทพศิรินทร์

พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจนครบาล นำทีมจัดเต็มเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เตือนภัยออนไลน์แก่นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 3 โรงเรียนเทพศิรินทร์ ให้ระแวดระวังอาชญากรทางไซเบอร์ที่อยู่รอบตัว

ฉีดวัคซีนเป็นเกราะคุ้มกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อสารพัดเกมกลของมิจฉาชีพในโลกการสื่อสารไร้พรมแดน

ก่อนมอบหมาย “สารวัตรแจ๊ะ” พ.ต.ต.ธัญพีรสิษฐ์ จุลพิภพ สารวัตรกองกำกับการสืบสวน 3 กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจนครบาล นักสืบตัวตึงของเมืองไทยร่วมถ่ายทอดประสบการณ์บนเส้นทางผู้พิทักษ์สันติราษฎร์

เจ้าตัวเชือว่า ทั้งที่ชีวิตที่มาคงไม่ใครบอกว่าคืออะไร นายตำรวจหนุ่มให้ชื่อว่า “วิชาชีวิต” บ่มเพาะความรู้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ที่ถือว่าเป็นชีวิตช่วงแรกก่อนถึงทางแยกไปตามทางเดินของตัว

สารวัตแจ๊ะเล่าว่า ตอนจบมัธยมปีที่ 3 ไม่ได้เรียนต่อกับเพื่อน ไม่รู้ว่า คิดถูกหรือคิดผิด แต่คิดเสมอ

“ ไม่มีใครกำหนดชะตาชีวิตตัวเองได้ตลอด จงกล้าเดินในทางที่ไม่เหมือนใคร แล้วไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับใคร ตามอย่างใคร แค่ฟังเสียงหัวใจของตัวเองก็พอ”

ชีวิตหลังจากจบมัธยมต้นหรือมัธยมปลายทุกคนต้องเจอมุมของชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย พอจบจากมหาวิทยาลัยจะเจอกับ “มุมของชีวิตจริง”

“ชีวิตมันคือ การเดินทาง สิ่งที่พวกน้องจะเจอ ที่พี่จะบอกน้องต่อจากนี้  น้องสามารถพูดคุยเล่นกันได้ แต่พี่เชื่อว่า ถ้าน้องไม่ได้ฟังพี่ ชาตินี้ก็คงจะไม่ได้ฟังใครมาพูดแล้วล่ะ” สารวัตรคนดังพยายามดึงสมาธิเด็กนักเรียน

เขาบอกให้ทุกคนทำความเข้าใจก่อนจะเริ่มวิชาชีวิตมี 2 อย่างเรียกว่า ทักษะ กับทัศนคติ ขยายความคำว่าทักษะ หรือสกิล เหมือนเล่นฟุตบอล เลี้ยงเก่ง ยิงเก่ง ไม่ต่างกับใครเรียนเก่ง คิดเลขเก่ง เล่นเกมเก่ง อันนี้เรียกว่าทักษะ

แต่พอเวลาการใช้ชีวิตผ่านไปสิ่งที่เก่งจะพาไปในเส้นทางตรง เป็นรถที่เร็ว แต่ชีวิตจริงไม่ใช่ทางตรงตลอด  สิ่งที่เจอในชีวิตทุกๆ คน คือ ทางแยก เมื่อถึงทางแยกของชีวิตจะเป็นตัวที่มาบอกว่า จะเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา

“มันไม่ใช่ความเก่ง แต่มันเป็นเรื่องของมายด์เซ็ต ที่เรียกว่า ทัศนคติ”

พ.ต.ต.ธัญพีรสิษฐ์ให้ข้อคิดว่า  หลายคนอาจยังไม่เคยเห็นกับตา แต่น่าได้ยินบทความต่าง ๆ ในทำนองว่า ทำไมคนเก่งถึงไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต เพราะเมื่อถึงทางแยก ไม่ได้ใช้ทักษะ หรือความเก่ง แต่ต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า มายด์เซ็ต

“นักฟุตบอล 2 คนเก่งเหมือนกัน ระดับเท่ากัน  ทำไมคนหนึ่งประสบความสำเร็จมากกว่าอีกคน ทั้งๆ ที่ทักษะเท่ากัน คือ เรียกว่า มายด์เซ็ต  เหมือนกระดุมบนตัวเราที่จะนำทางเราไปเป็นเข็มทิศให้กับชีวิตเรา วันนี้สิ่งที่พี่จะมาติดกระดุมให้กับทุกคน สามารถนำไปใช้ในชีวิตได้”

นักสืบมาดเซอร์บอกความลับว่า ตอนจบมาเป็นตำรวจ เป็นวัยรุ่นทั่วไป แต่มีโอกาสที่ดีกว่าชาวบ้าน มีครูที่ดี คือ พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนนครบาลพาไปทำคดีสำคัญ แล้วได้ไปเจอกับ ตำรวจที่ประสบความสำเร็จ ตำรวจที่มียศสูง แอบแฝงเข้าไปฟังว่า พวกเขาคุยอะไรกัน เพราะอยากรู้ว่าคนที่ประสบความสำเร็จคิดอย่างไร

สิ่งที่สารวัตรแจ๊ะตกผลึกได้เป็นอย่างแรกของตำรวจที่ประสบความสำเร็จ คือต้นแบบของ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ขณะนั้นเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สอนว่า รางวัลของพวกเรา ไม่ใช่ชั้นยศ สิ่งมีค่าเป็นความสำเร็จในการทำคดี คืนความชอบธรรมให้ประชาชนที่เสียหาย แปลภาษาให้เข้าใจง่ายๆ คือ รางวัลของการเป็นตำรวจ ไม่ใช่ลาภ ยศ เงิน ทอง แต่เป็นการได้ช่วยเหลือคน

นายตำรวจคนดังแนะนำว่า สิ่งที่ทุกคนกำลังมองไปในภายภาคหน้า คือ อาชีพ อาชีพที่จะทำเงินได้เยอะๆ อาชีพที่จะทำให้เรามั่นคง เงินจำเป็นสำหรับชีวิตเราก็จริง แต่มีสิ่งที่มีค่ามากกว่านั้น เรียกว่า ความรู้สึก และความทรงจำ

“น้องอาจจะคิดว่า พวกผมไม่ใช่ตำรวจ พวกผมไม่ใช่เจ้าหน้าที่ดับเพลิง ไม่ใช่อาสา ไม่ใช่กู้ภัย พวกผมจะไปช่วยเหลือคนได้อย่างไร” สารวัตรแจ๊ะจุดประกายว่า การเป็นฮีโร่ การช่วยเหลือคน ไม่ได้เป็นที่อาชีพ แต่เป็นที่จิตใจของเราต่างหาก

“คนทุกอาชีพ สามารถเป็นฮีโร่ได้ สามารถช่วยเหลือคนอื่นได้ ไม่ต้องมีพลังวิเศษ ไม่ต้องเป็นตำรวจ ไม่ต้องเป็นอาชีพอะไร เพราะฉะนั้น ประชาชน คือตำรวจ ตำรวจ คือประชาชน เราสามารถช่วยเหลือคนอื่นได้ ไม่จำเป็นจะต้องมีอาชีพ แต่การจะเป็นฮีโร่ที่สมบูรณ์แบบได้ต้องมีมายด์เซ็ต”

ยกตัวอย่างนักฟุตบอลระดับตำนานสโมสรที่เป็นโคตรนักฟุตบอล หลังจากที่ยิงประตู จะวิ่งไปกอดคนแอสซิส หรือจูบที่ตราสโมสร แสดงออกว่า รักสโมสร บางคนวิ่งเข้าไปจูบกล้อง เพื่อส่งใจไปถึงคนที่ดูอยู่ที่บ้าน บางคนวิ่งเข้าไปกอดโค้ช  ไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่าความสำเร็จจากการยิงประตู แต่เพราะคิดว่าเกิดจากเพื่อนส่งมาให้เกิดจากโค้ชที่วางแผนมาอย่างดี เกิดจากเด็กที่วิ่งเอาน้ำมาให้  แม้กระทั่งคนตัดหญ้าสนาม

ความสำเร็จที่เกิดขึ้นไม่ใช่เกิดจากที่ตัวเราลำพัง พวกเขาไม่เคยมองตัวเองเป็นหัวใจ

“การจะเป็นคนเก่งในด้านใดด้านหนึ่ง ในอาชีพใดอาชีพหนึ่ง ทุกคนในห้องนี้ ขอให้จำคำพี่เอาไว้ในวันนี้ ไม่มีใครมาบอกน้องแล้ว ทั้งชีวิต วันหนึ่ง ถ้าเราเป็นคนเก่งเมื่อไหร่ แล้วรู้สึกว่า ตัวเองเริ่มเป็นศูนย์กลาง ให้คิดเอาไว้ว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้นทั้งหมด ไม่ได้เกิดมาจากเราเพียงคนเดียว”  

 ไม่มีความสำเร็จใด ไร้ผู้ที่อยู่เบื้องหลัง

สารวัตรแจ๊ะย้ำว่า ทุกความสำเร็จของทุกคน ไม่ได้เกิดจากตัวเราเพียงคนเดียว และบุคคลที่สำคัญที่สุดในความสำเร็จทุก ๆ ความสำเร็จ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ทำให้คนๆ หนึ่ง ประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งคือ ความกตัญญู

“สิ่งใดที่มันใกล้ตัวมากเกินไป เราก็มักจะละเลย และมองข้าม คนเหล่านี้ คนที่อยู่ในทุกเบื้องหลังความสำเร็จของเรา และต่อให้คนทั้งโลกเกลียดเรา แต่คนๆ นี้ ไม่มีวันเกลียด”

สุดท้ายนี้ ข้อให้มายด์เซ็ตเป็นสิ่งมีค่าที่ติดตัวทุกคนเป็นเข็มทิศในชีวิต

ในการเลือกทางเดินชีวิตของตัวเอง  

 

 

 

 

RELATED ARTICLES