ไม่รู้ใครเขียน
แต่ขออนุญาตให้เครดิต EF Talks กระแทกอารมณ์ความรู้สึกเข้าถึงรากลึกขององค์กรตำรวจไม่มากก็น้อย
จริงเท็จประการใดพิจารณาชั่งใจกันเอง
ว่าด้วยเรื่อง การขอย้ายกลับบ้าน เป็นความฝันสูงสุดของใครหลายคน แต่น้อยคนที่เข้ามาปีแรก ๆ จะเข้าใจ
หลักเกณฑ์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จริง ๆ มีไม่เยอะ 2 ปี ก็เขียนย้ายได้แล้ว
ยกเว้นติดสลักหลังห้ามย้าย
อำนวยการ พิสูจน์หลักฐาน ระบุ 4 ปี
กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน 8 ปี
แต่ของจริง ๆ อยู่ที่ เกณฑ์ของกองบัญชาการแต่ละปีว่าเป็นยังไง
การให้ย้ายข้ามหน่วย ผู้บัญชาการต้องบริหารจำนวนคนให้สมดุล ไม่เช่นนั้นจะไม่มีคนทำงาน กลายเป็นเหตุผลว่าทำไม
“เขียนย้ายแล้วไม่ได้ย้าย”
กองบัญชาการยอดคนขอย้ายเข้าแล้ว จึงกำหนดอัตราให้สอดคล้องกัน (เข้า 300 ออกไม่เกิน 300) 300 ที่แหละจะมาแบ่ง
หลัก ๆ ก็มี
การขอสับเปลี่ยน เท่ากับ โอกาสได้ย้าย 99 เปอร์เซ็นต์ แต่บางพื้นที่หายาก เพราะคนไม่อยากมา เช่น กองบัญชาการตำรวจนครบาล
หลักเกณฑ์อยู่ในหน่วยมานาน รองสารวัตร 11 ปี ผู้บังคับหมู่ 25 ปี เท่ากับ เขียนย้ายแล้วได้เลย เพราะมีแค่ไม่กี่คน (เอาไว้กันคนด่า)
โควตาให้ย้าย ผู้บัญชาการจะให้สำนักงานต่าง ๆ (มากน้อยไม่เท่ากัน) เช่น รองผู้บัญชการขอได้ 3 คน
ผู้บังคับการ 2 คน รองผู้บังคับการ 1 คน อื่น ๆ ที่มีอำนาจขอผู้บัญชาการ (พระ นักการเมือง )
คุณทำยังไงก็ได้ให้ ท่านเหล่านั้นเสนอชื่อคุณจาก “การ์ดนางฟ้า”
ในจำนวนข้อทั้งหมด อยากให้คุณโฟกัสอันสุดท้าย
เพราะใช้เวลาไม่นาน หรือคุณจะรอ 25 ปี
การหา “การ์ดนางฟ้า”เหมือนหา “คอนเนคชัน” นั่นแหละ
ทำงานให้มาก พบปะคนให้มาก “โอกาสก็มาก”
ฃขยัน ซื่อสัตย์ ถ่อมตน อัธยาศัยดี
การขอย้ายในกองบังคับการก็เหมือนกัน เปลี่ยนแค่ “ผู้บังคับการ” เป็นคนอนุมัติ
“สรุป ระบบมันเป็นแบบนี้ มันยุติธรรมในแบบของมัน ไม่ใช่ของเรา เราแก้มันไม่ได้ ก็ต้องเข้าใจ และเล่นให้เราได้ประโยชน์มากที่สุด”
ขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่สมหวังในรอบนี้ครับผม