ปัดฝุ่นตำราลาซู

 

พลิกตำรากลับมาเปิดการฝึกอบรมหลักสูตรหน่วยเฝ้าตรวจระยะไกล Long Range Surveillance Unit (LRSU) รุ่น M ประจำปีงบประมาณ 2568

พล.ต.ต.ณรงค์ ธนานันทกุล ผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 4 เป็นผู้เนรมิตวิชาเมื่อครั้งเป็นผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 เมื่อ 11 ปีที่แล้ว

 ท่ามกลางสถานการณ์ไฟใต้กำลังร้อนระอุปะทุขึ้นมาตั้งแต่ปี 2547

ในทันทีที่ขยับเป็นผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 คุมค่ายพญาลิไท จังหวัดยะลาเต็มตัวได้กำหนดคำขวัญในการทำงานไว้ว่า “สร้างคน กำหนดงาน คนสำราญ งานสำเร็จ” ให้ความสำคัญทรัพยากรบุคคลเป็นอันดับแรก

 มีเป้าประสงค์ที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ กำหนดภารกิจให้สอดคล้องกับความรู้ความสามารถของบุคลากร

“แต่ตอนมาทำงานพื้นที่ใหม่ ๆ ทำทั้งงานมวลชนและงานเชิงรุกกว่าจะประสบความสำเร็จในการเข้าถึงชาวบ้าน เจ้าตัวยอมรับว่า เหนื่อย เพราะต้องพร้อมตลอด กำลังพลตายทุกเดือน คิดว่า มันไม่ไม่ไหวแล้ว”

ทำให้เกิดแนวคิดปรับยุทธวิธีรับมือสถานการณ์ขึ้น

มองว่า การฝึกกำลังพลบนบก แต่มีพื้นที่ทางน้ำต้องรับผิดชอบ ทำให้บอด ไม่มีหน่วยไหนทำงานได้ จำเป็นต้องพัฒนาคนด้วยการฝึก เริ่มต้นด้วยการขับเรือ ฝึกยุทธวิธีทางเรือ ลาดตระเวนรอบพื้นที่เขื่อนบางลาง รุ่นแรกฝึก 2 รุ่น รุ่นละ 24 คนเป็น “หน่วยเฉพาะกิจ”

จุดประกายการเริ่มต้นชุดปฏิบัติการพิเศษให้ทำงานได้ 3 มิติ ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ

นำหลักสูตรหน่วยเฝ้าตรวจระยะไกลของสหรัฐอเมริกามาประยุกต์ใช้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Long Range Surveillance ย่อว่า LRSU ตั้งชื่อตามภาษาไทยว่า “ลาซู” รุ่นแรก เอาครูฝึกจากค่ายนเรศวร และของกองกำกับ มีทั้งบก น้ำ อากาศ 40 คน อาศัยสถานการณ์ที่อยู่มานาน รู้ถึงภูมิประเทศ ทำให้รู้จุดอ่อนของตัวเอง

นื่องจากในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีหลากหลายสภาพภูมิประเทศ ทั้ง ป่า เขา น้ำ การพัฒนาชุดปฏิบัติการพิเศษต้องมีความชำนาญด้านป่า ภูเขา ทางน้ำ แม้กระทั่งใต้น้ำ หรือการช่วยเหลือทางอากาศ

ตำรวจตระเวนชายแดนต้องพัฒนาการฝึกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถพิเศษ คือ ยิงปืนจากอากาศยานในกรณีที่ต้องปฏิบัติการกับเฮลิคอปเตอร์ได้ด้วย

“ สิ่งที่ทำให้ลาซูแตกต่างจากหน่วยอื่นๆ คือ การฝึกบุคคลซึ่งเหมาะกับสถานการณ์ เหมาะกับพื้นที่ สามารถที่จะทำงานได้ทุกรูปแบบ ทางป่า ภูเขา ทางน้ำ ปฏิบัติการใต้น้ำได้ด้วย ดังนั้น คนที่ฝึกมาจะมีสภาพจิตใจและมีจิตใจที่รุกรบ มีความมั่นใจในการทำงานสูง” หัวหน้านักรบตระเวนชายแดนชี้แจง

“ลาซู” ยังถือเป็น “นักรบใต้น้ำ” ได้อย่างโดดเด่นในกรณีที่ต้องค้นหาวัตถุใต้น้ำ บางส่วนของ “ลาซู” จะถูกส่งไปประจำการที่ฐานนางนวลในป่าฮาลา บาลาป่าดิบชื้นชายแดนไทย-มาเลเซีย ติดกับพื้นที่น้ำของเขื่อนบางลางอำเภอธารโต และอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา

นับเป็นพื้นที่ “สีแดงจัด” ของปลายด้ามขวาน

รุ่นแรกฝึกเสร็จออกแผนทางน้ำปะทะรับมือโจรทันทีกลางลำน้ำเขื่อนบางลาง

เขามุ่งมั่นตั้งเป็นหน่วยเฝ้าตรวจระยะไกลจากหน่วยรบเดนตายของสหรัฐอเมริกาเอามาประยุกต์ใช้ผสมผสานกับหลักสูตรนเรศวร และหน่วยกู้ภัยของตำรวจตระเวนชายแดน

ป้องกันความสูญเสียของเจ้าหน้าที่นักรบป่า

กำหนดเวลาฝึกอบรมรุ่นละ 2 เดือนเศษ เน้นการใช้สมอง ไม่ได้ใช้กำลังอย่างเดียว

เที่ยวนี้ก้าวขึ้นนั่ง “แม่ทัพ” ถึงเอาโครงการชุดปฏิบัติการพิเศษ “ลาซู” กลับมาใหม่ส่งให้ พล.ต.ท.นิตินัย หลังยาหน่าย ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมหลักสูตร   

เสริมเขี้ยวเล็บหน่วยนักรบชายแดนใต้

 

 

 

RELATED ARTICLES