น.1 ตรวจการบริหารจัดการคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ของ บก.น.4

พล.ต.ท.สยาม บุญสม ผบช.น./ผอ.ศปอส.บช.น. พล.ต.ต.วสันต์ เตชะอัครเกษม รอง ผบช.น./รอง ผอ.ศปอส.บช.น. พล.ต.ต.ธนันท์ธร รัตนสิทธิภาคย์ ผบก.น.4 พล.ต.ต.โชติวัฒน์ เหลืองวิลัย ผบก.สส.บช.น.พร้อมด้วย พ.ต.อ.สิทธิชัย ศรีโสภาเจริญรัตน์ รอง ผบก.น.4, พ.ต.อ.ณัฏฐ์ภาณพ วัชรเสรี รอง ผบก.น.4, พ.ต.อ.พงศ์จักร จักษุรักษ์ รอง ผบก.น.4, พ.ต.อ.นิภพล สุขนิยม รอง ผบก.น.4, รอง ผบก.น.1-9, บก.สส.บช.น. และ คณะพนักงานสืบสวนสอบสวน ศปอส.บช.น. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการตรวจเยี่ยมและติดตามการปฎิบัติงานด้านการบริหารจัดการคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ของ บก.น.4 ณ ห้องกระจก ชั้น 1 อาคาร บก.น.4 ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ตร. และ บช.น. ให้ทุกหน่วยงานเร่งแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เนื่องจากส่งผลกระทบต่อประชาชน ทำให้สูญเสียทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก

ซึ่งทาง บก.น.4 ได้นำเสนอแนวทางการบริหารจัดคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่ประชาชนมาแจ้งความร้องทุกข์ผ่านระบบการแจ้งความออนไลน์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (thai police online โดยได้จัดตั้งคณะพนักงานสอบสวนคดีอาชญากรรม บก.น.4 ขึ้น แบ่งโครงสร้างประกอบด้วย ฝ่ายสอบสวน และ ฝ่ายสืบสวน เพื่อวิเคราะห์คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในลักษณะเป็นแก็งค์คอลเชนเตอร์ และเคสที่มีความเชื่อมโยงกันจำนวนมาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณคดีในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวน และ ช่วยเหลือพนักงานสอบสวนไม่ต้องปฎิบัติงานเพียงลำพัง โดยใช้แนวทางสืบสวนนำสอบสวน

ทั้งนี้ได้วางแนวทาง การปฎิบัติงาน ไว้ 7 ขั้นตอนดังนี้

1. Admin ระดับกองบังคับการ ดำเนินการมอบหมายให้กับพนักงานสอบสวนคดีออนไลน์ ภายใน ๓ ชั่วโมง

2. ติดตามนัดหมายผู้เสียหาย มาสอบปากคำในระบบ TPO จำนวน ๒ ครั้ง หากไม่มาพบพนักงานสอบสวน ให้ดำเนินการกดสิ้นสุด

3. พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการสอบปากคำผู้เสียหายทุกเคส /คัดแยกประเภทคดี ตามที่ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) และ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) รับผิดชอบ ตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ ๑๘๒/๒๕๖๖

4 . ดำเนินการอายัดบัญชีผู้ต้องหาทุกบัญชี ขอพยานเอกสารธนาคาร รวมถึงเอกสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เครือข่ายโทรศัพท์ กระทรวงดิจิตัล

5. ฝ่ายสืบสวนวิเคราะห์ความเชื่อมโยง case id หากมีความเชื่อมโยง และ มีพฤติการณ์ในลักษณะเดียวกัน ให้เสนอยุบรวม case id

6. พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนตารมระยะเวลาภายใน ๓ เดือน ในระหว่างการสอบสวนหากต้องการให้ฝ่ายสืบสวนสนับสนุนดำเนินการเรื่องใด สามารถแจ้งได้  

7. ผู้กำกับการ(สอบสวน) ทำหน้าที่เร่งรัดการสอบสวนคดีออนไลน์ของพนักงานสอบสวนในความรับผิดชอบ โดยกำหนดว่าให้เร่งรัดทุกวันที่ปฏิบัติหน้าที่เวรประจำศูนย์ฯ ในคดีที่มีระยะเกินกว่า 2 เดือน 

ชึ่งในห้วงระหว่างวันที่ 1 ม.ค.68 – ปัจจุบัน มีผลการปฎิบัติที่ดี และสามารถติดตามเงินคืนให้กับผู้เสียหายจำนวน 28 เคส รวมมูลค่า 764,000 บาทถือว่าเป็นการแก้ไขปัญหา ป้องกันปราบปราม สืบสวนจับกุม คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตามนโยบายของรัฐบาล ตร. และ บช.น.

RELATED ARTICLES