เกาะติดวิกฤติร้อนต่อเนื่อง
เพจพนักงานสอบบสวนหญิงเผยแพร่ “จดหมายรัก” จากพนักงานสอบสวนหญิงถึงอัยการ ผู้ต้องมา “รับกรรม” จากการส่งสำนวนก่อนครบฝากขัง 1-2 วันจากพนักงานสอบสวนอยู่เสมอ
1.หลักความโปร่งใสและการตรวจสอบ (Accountability & Transparency) การเสนอให้พนักงานสอบสวนรายงานการสืบสวนต่อฝ่ายปกครองหรือขออนุมัติอัยการก่อนดำเนินการสอบสวนเบื้องต้นนั้น ไม่ได้หมายถึงการจำกัดหรือแทรกแซงความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวน แต่เป็นการเสริมสร้างกลไกตรวจสอบความถูกต้อง โปร่งใส และชอบด้วยกฎหมาย อ้างอิงหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พุทธศักราช 2534 ที่เน้นการทำงานร่วมกันของหน่วยงานรัฐให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
ตอบ ในหลักการประมวลวิธีพิจารณาคววามอาญามีการวางหลักไว้ อ้างอิงแบบ Common Law มาเป็น Civil law และให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยรับผิดชอบการสืบสวนสอบสวนคดีอาญา ต่อมาตามหลักธรรมาภิบาล จึงมีการกระจายอำนาจให้เป็นกรม กอง ต่างๆ และระเบียบราชการแผ่นดินได้แยก สามหน่วยงานในกระทรวงมหาดไทย ให้มีบทบาทหน้าที่ ตามวิชาชีพของตัวเอง กรมการปกครอง กรมอัยการ กรมตำรวจ มีพัฒนาการตามลำดับถึงการแบ่งส่วนราชการภายใน และได้แยกหน่วยงานแต่ละหน่วยออกจากกระทรวงมหาดไทย และได้มีกฎหมายเฉพาะของแต่ละหน่วยงาน พระราชบัญญัติอัยการ และพระราชบัญญัติสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อเป็นหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมที่ไม่ขึ้นตรงต่อกัน เพื่อลดการแทรงแซงและค้านอำนาจของแต่ละกระบวนการ เมื่อแต่ละหน่วยงานมีอำนาจหน้าที่มอบหมายชัดเจนตาม พรบ.ต่างๆ ที่ตราขึ้นให้เป็นไปในการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่ควรย้อนยุคไป 90 ปีเพื่อรวมศูนย์อำนาจเช่นเดิม
การทำงานร่วมกันของหน่วยราชการคือ การทำงานแบบทีมสหวิชาชีพที่เคารพทุกวิชาชีพในร่วมกันแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน ไม่ได้เพียงให้รายงานให้ทราบ แล้วไม่ได้ทำอะไรต่อ เพื่อควบคุม หรือ สำเร็จความใคร่รู้ ว่าใครทำอะไรที่ไหนแล้วจบแยกย้าย แค่นั้นหรือ
2.กระบวนการยุติธรรมและการป้องกันการละเมิดสิทธิประชาชน ข้อเสนอในการให้ฝ่ายอัยการมีบทบาทในการกลั่นกรองพยานหลักฐานก่อนการดำเนินคดี เป็นการช่วยลดความผิดพลาดในการออกหมายจับหรือฟ้องร้องที่ไม่สมเหตุสมผล อันจะเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยไม่จำเป็น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่รับรองว่า “บุคคลจะถูกจับหรือคุมขังมิได้ เว้นแต่มีเหตุอันชอบด้วยกฎหมาย”
ตอบ บุคคลจะถูกข้งหรือคุมขังมิได้ เว้นแต่มีเหตุอันชอบด้วยกฎหมาย นั้น มีการตรวจสอบการจับกุมควบคุมตัวผู้ต้องหา ในทุกขั้นตอน ทั้งการรวบรวมพยานหลักฐาน ระบบตามประมวลวิธีพิจารณาอาญาที่มีอยู่ ต้องร้องขอต่อศาลเพื่อขออนุมัติหมายจับ เมื่อมีการจับกุมต้องมีการบันทึกภาพและเสียง ตามพระราชบัญญัติอุ้มหาย และแจ้งให้หน่วยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องในคดีรับรู้ว่า ประชาชนคนนี้ถูกตำรวจจับ รายงานไปให้อัยการและฝ่ายปกครองทราบแล้ว เหตุใดต้องทำงานซ้ำอีก
การกลั่นกรองพยานหลักฐานนั้น ถ้าจะให้ระยะเวลาที่ให้การสืบสวนสอบสวนมีประสิทธิภาพ แอดมินขอแก้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 87 เพียงมาตราเดียว ให้ผู้ถูกจับกุมมีสิทธิประกันตัวในชั้นฝากขัง ฝากขัง 2 รอบ ระยะเวลา 6 เดือน แบ่งให้ พนักงานสอบสวน 3 เดือน อัยการ 3 เดือน แล้วถึงฟ้อง ไม่ต้องมาเถึยงกันในอำนาจควบคุม ครบ 3 เดือนตำรวจส่งอัยการ ท่านไปฝากขังต่อในระยะเวลาท่าน ผู้ต้องหาหนีประกันก็แล้วแต่ห้วงเวลา อยู่ในอำนาจใครไปตามจับเอง ไม่เกี่ยวกับตำรวจ ผู้ต้องหามีเวลา 6 เดือนในการเตรียมสู้คดี หลักฐานอะไรว่ามายันกันเต็มที่ ไม่มีเงินประกันก็ยื่นคำร้องที่ยุติธรรมจังหวัดตามระเบียบของกระทรวงยุติธรรม ตำรวจศาลก็ตั้งแล้ว ผู้ต้องหาหนีก็ให้ตำรวจศาลไปจับจ้าฃ
3.ประโยชน์ในการบริหารจัดการสำนวนคดีอย่างมีประสิทธิภาพ ในทางปฏิบัติปัจจุบัน ปัญหาที่พบคือ พนักงานสอบสวนมักส่งสำนวนมาที่อัยการในเวลาที่กระชั้นชิดก่อนครบกำหนดฝากขัง (1-2 วันก่อน) ส่งผลให้การตรวจสอบของอัยการไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อาจนำไปสู่ความผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรมได้ หากมีการกำหนดให้ฝ่ายอัยการสามารถร่วมพิจารณาก่อนการดำเนินการขั้นเด็ดขาด ย่อมทำให้สำนวนคดีได้รับการจัดการที่มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง
ตอบ ย้อนไปตามคำตอบข้อ 3
4.ประสบการณ์ต่างประเทศและมาตรฐานสากล การมีส่วนร่วมของอัยการตั้งแต่ขั้นตอนสืบสวนสอบสวนเบื้องต้นนั้น เป็นแนวทางที่หลายประเทศใช้อยู่ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ที่ให้อัยการมีบทบาทในการกลั่นกรองก่อนดำเนินการทางกฎหมาย เพื่อลดความผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการยุติธรรม
ตอบ อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ คงไม่เรียกว่า สากลได้ และการตรวจสอบย้อนกลับ ประเทศเหล่านี้ ก็มีหลักการทางกฎหมายคล้ายคลึงกับ ปวิอ.ไทย เพียงแต่หน่วยงานแต่ละ กระทรวง ทบวง กรม เค้า แบ่งส่วนราชการแตกต่างๆ จากไทย อเมริกาก็ปวดหัวกับอำนาจการสืบสวนสอบสวน Investigation ทั้ง ตำรวจเมือง ในเค้าตี้ต่างๆ ก็มีทั้ง นายอำเภอ สถานีตำรวจ ตำรวจกลาง FBI HSI secret sevice marshal มีคำรวมหน่วยต่างๆ เหล่านี้ว่า Law Enforcement ญี่ปุ่นเองตำรวจกับอัยการก็มีการร้องเรียนว่ามีการฮั้วคดีในเชิงระบบมาก และอย่าลืมว่ายุคโลก 2025 นี้ กฎหมายวิธีบัญญัติ ไม่ได้ใช่แค่ ประมวลวิธีพิจารณาความอาญาฉบับเดียว ยังมี ประมวลวิธีพิจารณาความอาญาค้ามนุษย์ ประมวลวิธีพิจารณาความอาญายาเสพติด การกลั่นกรองขั้นตอนการสืบสวนสอบสวนนั้นคงเข้าใจได้ไม่ลึกซึ้งถึงความซับซ้อนของคดี หากไม่ได้กระทำด้วยตนเอง หากท่านจะดำเนินการเองคงเป็นการดี ไม่ได้ให้ พนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจทำและท่านมาสั่ง และ Law enfrocement ไทยก็ไม่มี RTP เพียงหน่วยเดียว ท่านคงจะรับคดีอาญาไปทำเองจะดีที่สุด
5.ข้อกังวลที่เกินจริงเกี่ยวกับความล่าช้า ประเด็นที่ว่ากระบวนการอนุมัติจากอัยการจะนำมาที่ความล่าช้านั้น อาจเป็นข้อกังวลที่เกินจริง เนื่องจากในทางปฏิบัติสามารถกำหนดกรอบระยะเวลาการพิจารณาได้ตามสมควรและชัดเจน (เช่น 24-48 ชั่วโมง) อีกทั้งปัจจุบันเทคโนโลยีที่ทันสมัยยังสามารถช่วยให้การติดต่อประสานงานทำได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งต่างจากความล่าช้าที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการที่ไม่รอบคอบหรือผิดพลาดตั้งแต่ต้น
ตอบ อัยการหน่วยท่านมีข้าราชการเพียง 10,000 กว่าคน พอๆกับพนักงานสอบสวนตำรวจ แต่อัยการรับเพิ่มทุกปี อบรม 2 ปี ถึงจะทำงานได้ ท่านคงต้องเพิ่มคนอีกหลายหมื่นคงถึงจะทำงานในปริมาณงาน 800,000 คดีต่อปี และที่ไม่เป็นคดี ปรับพินัย ไกล่เกลี่ย ยอมความ อีกไม่ได้นับคงจะสามารถบริหารจัดการคดีได้เยี่ยมแน่ หากอัยการจะทำการสืบสวนสอบสวนเองทั้งหมด มีผู้ทำความเห็นทางคดีให้ท่านในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด
“ความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรมคือความไม่เป็นธรรมค่ะ”
6.หลักธรรมาภิบาลและการควบคุมอำนาจ (Checks and Balances) ข้อเสนอดังกล่าวมุ่งเน้นหลักการควบคุมและถ่วงดุลอำนาจเพื่อป้องกันการใช้อำนาจโดยมิชอบ เป็นหลักพื้นฐานสำคัญของรัฐธรรมนูญที่ต้องรักษาไว้เสมอ เพื่อประโยชน์ในการปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนจากอำนาจรัฐที่เกินขอบเขต
ดังนั้น ข้อเสนอในการปฏิรูปหรือแก้ไขกระบวนการสอบสวนดังกล่าว จึงไม่ใช่การแทรกแซงหรือทำลายความเป็นอิสระของตำรวจ แต่เป็นการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อประชาชนและสังคมในระยะยาว
ตอบ ข้อเสนอของท่าน พนักงานสอบสวนหญิงว่า เรามาร่วมกันเสนอแก้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณามาตรา 87 เรื่องระยะเวลาการควบคุมตัวผู้ต้องหาก่อนฟ้อง และทำงานแบบทีมสหวิชาชีพ หรือให้ท่านชะลอฟ้องได้
น่าจะทำให้ทั้งสองหน่วย Win Win นะคะ