ใช้สถิติอย่างชาญฉลาดเพื่อต่อสู้อาชญากรรม (3)

ขออนุญาตต่อให้จบเป็นตอนสุดท้าย

การบรรยายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของ “แอนน์ มิลแกรม” นักกฎหมายสาวชาวอเมริกัน อดีตอัยการสูงสุดของรัฐนิวเจอร์ซีย์ ที่เธอตั้งใจมองหา เครื่องมือประเมินความเสี่ยง ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล

ช่วยให้ผู้พิพากษาได้เข้าใจในแบบที่เป็นวิทยาศาสตร์ และเป็นรูปธรรม

เธอตั้งทีมขึ้นมาประกอบด้วย นักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูล นักวิจัย และนักสถิติ สร้างเครื่องมือประเมินความเสี่ยงที่เป็นสากล เพื่อที่ผู้พิพากษาทุกคนในอเมริกาจะได้มีวิธีวัดความเสี่ยงอย่างเป็นรูปธรรม รวบรวมคดีกว่า 1.5 ล้านคดีทั่วทุกรัฐในประเทศ

กระทั่งพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงกว่า 900 ปัจจัยที่ต้องศึกษาเพื่อหาว่าปัจจัยไหนสำคัญที่สุด

ตั้งแต่ประวัติการกระทำผิดของจำเลยว่า เคยถูกตัดสินจำคุกหรือไม่ เคยข้องเกี่ยวกับความรุนแรงมาก่อนหรือเปล่า เคยผิดนัดศาลบ่อยแค่ไหน ก่อนจะนำมาทำนายว่า พวกนั้นจะออกไปก่อคดีใหม่อีกหรือไม่ รุนแรงขึ้นอีกหรือเปล่า และจะกลับมาขึ้นศาลไหม

ถ้าได้รับการปล่อยตัว

ถึงกระนั้นก็ตาม เธอไม่ได้หมายความว่า ควรเลิกเชื่อสัญชาตญาณ และประสบการณ์ของผู้พิพากษา ในกระบวนการยุติธรรมนี้ แต่ควรใช้การประเมินความเสี่ยงด้วยข้อมูลสถิติร่วมกันกับสัญชาตญาณ และประสบการณ์ของผู้พิพากษา ช่วยให้ได้ผลการตัดสินใจที่ดีขึ้น

เปลี่ยนให้เป็นระบบที่ทำงานด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล

อดีตอัยการสาวอธิบายด้วยว่า มีวัฒนธรรมการทำงานอีกมากมายที่ต้องเปลี่ยน เป็นเหตุที่ทำไม “กูเกิล” ถึงเป็น “กูเกิล” และเป็นเหตุผลเดียวกันที่ทำไมทุกทีมเบสบอลใช้ “มันนีบอล” เพื่อขัยชนะในเกมการแข่งขัน

ตรงนี้จึงเป็นวิธีที่จะเปลี่ยนโฉมระบบยุติธรรมของสหรัฐอเมริกาให้ยุติธรรมมากขึ้น และเที่ยงตรงมากขึ้น

บางคนเรียกว่า วิทยาศาสตร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล (Data science)

แต่ดิฉันเรียกมันว่า ระบบยุติธรรมแบบมันนีบอล” แอนน์ มิลแกรม สรุปทิ้งท้าย

ไม่รู้กระบวนการยุติธรรมเมืองไทยจะเข้าใจแล้วนำมาปรับใช้ได้มากน้อยแค่ไหน

 

 

 

 

RELATED ARTICLES