ที่ศูนย์ฝึกยุทธวิธีตำรวจกลาง ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เดินทางไปตรวจเยี่ยมโครงการฝึกภาคปฏิบัติของหลักสูตรการสืบสวนคดีอาญา รุ่นพิเศษ 5G โดยมี พล.ต.ท.สมประสงค์ เย็นท้วม ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 พล.ต.ต.ปิยะอนันต์ โตสกุลวงศ์ ผู้บังคับการศูนย์ฝึกยุทธวิธีตำรวจกลาง รอรับการตรวจเยี่ยม พร้อม พ.ต.อ.ณรงศักดิ์ เจริญวงศ์ รองผู้บังคับการศูนย์ฝึกยุทธวิธีตำรวจกลาง และพ.ต.อ.ศุภชัช เปี่ยมมนัส ที่ปรึกษาโครงการ มี พ.ต.อ.ธีรชาติ ธีรชาติธำรง รองผู้บังคับการปฏิบัติการพิเศษ และครูฝึกรับผิดชอบการฝึกด้านยุทธวิธีให้กับนักเรียนสืบสวน 5 G ถ่ายทอดหลักการและรูปแบบการเข้าจับกุมคนร้ายในยานพาหนะ/ทดสอบสถานการณ์ หลักการและรูปแบบการเข้าจับกุมคนร้ายในอาคาร/ฝึกปฏิบัติ ทั้งนี้ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ร่วมบรรยายหลักทางยุทธวิธีเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน การเข้าจับกุมคนร้ายในยานพาหนะเพื่อป้องกันเหตุสูญเสียของประชาชน เจ้าหน้าที่ตำรวจ ตลอดจนผู้ก่อเหตุด้วย
ร.ต.อ.หญิงปรียาลักษณ์ ศิริล้วน รองสารวัตร (สอบสวน) กองกำกับการสืบสวนสอบสวนตำรวจคนเข้าเมือง 5 ผู้เข้ารับการอบรมนักสืบ 5 G ให้ความเห็นว่า ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาสอนรู้สึกถึงความห่วงใยที่ท่านทีมให้ลูกน้องในเรื่องความปลอดภัย เพราะเรื่องการเข้าค้นจับกุมในรถยนต์ เราต้องรู้เทคนิคที่ถูกต้อง การmoveและ cover สำคัญมาก การที่เราต้องเข้าทำบางทีประชาชนรอไม่ได้ การรอหน่วยพิเศษต่างๆนานา แม้ว่าการเป็นตำรวจมันจะเสี่ยง สุดท้าย แต่การเป็นตำรวจพวกเราต้องพร้อมตาย
ส่วน ร.ต.อ.หญิงวันวิสาข์ ปุยะบาล รองสารวัตร(สอบสวน) กลุ่มงานตรวจสอบสำนวนคดี กองบังคับการกฎหมายและคดีตำรวจภูธรภาค 4 ให้ทัศนะว่า เป็นขวัญกำลังใจสำหรับพวกเรามาก พวกเราเป็นตำรวจชั้นผู้น้อยแต่ ผู้นำหน่วยมาถ่ายทอดความรู้ด้วยตัวเอง สอนเรื่องยุทธวิธีการตรวจค้นจับกุมคนร้ายขณะที่ใช้รถยนต์ สอนว่การเข้าตรวจค้นจับกุม หลักใจความสำคัญทุกกรณีก็คือ cover and move ของคู่บัดดี้ และให้ระวังแนวปืนระหว่างคู่บัดดี้ การกรูเข้าไปพร้อมกันเยอะๆครั้งเดียว ก็ไม่ทำให้เราได้เปรียบ ในระหว่างการออกปฏิบัติการ การเข้าใจกันระหว่างคู่บัดดี้เป็นเรื่องสำคัญ แต่ในบางครั้ง เราก็ไม่สามารถเลือกให้ทุกอย่างมันสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ และเราไม่สามารถรอให้ทุกอย่างมันพร้อมสมบูรณ์ได้ เพราะความเชื่อมั่นของประชาชนกับการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจเป็นเรื่องสำคัญ ฉะนั้นการที่ใช้สิ่งที่เรามี ณ ตอนนั้น ให้มันประสบความสำเร็จและเกิดความสูญเสียน้อยที่สุด คือสิ่งที่เราในฐานะหัวหน้าหน่วยจำเป็นต้องทำ การใช้สติปัญญา ไหวพริบแก้ไขสถานการณ์เป็นเรื่องสำคัญพอๆกับการรักษาความประมาท สถานการณ์แต่ละครั้งไม่เหมือนกัน จำเป็นต้องแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า และไม่มีอะไรเป็นรูปแบบสำเร็จรูป การเป็นตำรวจคือการพร้อมที่จะตายถ้าจำเป็น แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ไม่จำเป็นต้องตาย และการฝึกคือการทำให้ตำรวจไม่ต้องตายเมื่อถึงเวลาที่ยังไม่สมควรค่ะ รู้สึกประทับใจ และเป็นแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ
ขณะที่ ร.ต.อ.หญิง ธิดารัตน์ ผดุงประเสริฐ รองสารวัตร (สอบสวน) สถานีตำรวจภูธรเมืองฉะเชิงเทรา ระบุเรื่องที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแนะนำ เป็นการสอนยุทธวิธีการตรวจค้นรถ กรณีมีคนร้ายอยู่ภายในรถ แนะนำว่า ไม่ควรนำรถไปบล็อกรถของคนร้าย (ด้านหน้า) เช่น กรณีพัทลุง ความพร้อมของการใช้อาวุธ เมื่อเข้าสถานการณ์ ถ้าปฏิบัติหน้าที่ และได้รับบาดเจ็บ ต้องแจ้งทีม เพื่อประเมินความพร้อมในการปฏิบัติงานต่อ วลาทำงานจริง อาจจะมีจังหวะที่ทุกคน blank สติหลุด ก็อาจจะมีการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามหลักยุทธวิธี เช่น แนวยิงของตำรวจด้วยกัน สิ่งที่อันตรายที่สุดของการทำงานของตำรวจ คือ แนวปืนของเพื่อนร่วมทีม และมักมีข้อผิดพลาดให้เห็นอยู่เสมอถ้าคนร้ายเท้าไม่ติดดิน ไม่ควรเข้า ฝรั่งมีแค่คำว่า move กับ cover การทำงานของตำรวจ ถ้าจำเป็น เราต้องพร้อมที่จะตาย แต่อย่าตายโดยที่ไม่จำเป็น การทำงานของตำรวจ ไม่มีอะไรที่ปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ต้องทำให้ดีที่สุด บางเหตุการณ์ รอช้าไม่ได้ (หน่วยร่วมปฏิบัติ) เพราะเป็นเรื่องของความปลอดภัยของประชาชน และความเชื่อมั่นในการทำงานของตำรวจ หลักสูตรโดดร่ม สอนให้กล้าตัดสินใจ แม้รู้ว่า ข้างหน้าจะไม่ปลอดภัย แต่ก็ต้องโดด และทำท่าให้ถูกต้องเพื่อลดความเสี่ยง ทุกอย่างต้องมีการฝึกซ้อม เหมือนทีมฟุตบอล ความรู้สึกทำให้พวกเราได้ข้อคิดและแนวทางในการทำงานของอาชีพตำรวจ รู้สึกภูมิใจที่ผู้บังคับบัญชาให้ความสำคัญกับผู้ใต้บังคับบัญชา และห่วงใยผู้ปฏิบัติ อยากให้ผู้ปฏิบัติมีความปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่
ด้าน ร.ต.อ.อภิชัย ชัชวาลย์ปรีชา รองสารวัตร(สอบสวน) สถานีตำรวจภูธรเมืองนราธิวาส ให้ความเห็น
ความรู้ที่ได้รับ และความรู้สึก เนื่องในโอกาสท่านผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมาตรวจเยี่ยมและสอนวิชายุทธวิธีตำรวจ กำชับการเข้าจับกุมคนร้ายกรณีที่อยู่ในรถ หากจำเป็นต้องใช้รถในการบล็อกด้านหน้า ไม่ควรให้แนวเบาะด้านหน้ารถเสมอกัน หรือหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่นั่งเบาะหน้าฝั่งข้างคนขับเป็นคนคัฟเวอร์ การใช้รถยนต์เป็นที่กำบัง แนวที่เหมาะสมคือบริเวณด้านหลังรถ หรือซุ้มล้อด้านหน้าฝั่งตรงข้ามรถเป้าหมาย(ของรถยนต์คันที่ประกบด้านข้างรถเป้าหมาย) การยิงหลังที่กำบังกรณีเกิดการปะทะ สามารถบังคับเฉพาะอาวุธปืนโผล่เหนือที่กำบังแล้วทำการยิงได้ แต่เคยเกิดปัญหาเจ้าหน้าที่ตำรวจถูกยิงจากฝ่ายเดียวกันเอง ควรหาแนวยิงที่ปลอดภัย ฝึกซ้อมการปฏิบัติแบบเป็นคู่บัดดี้เวลาเผชิญเหตุแทนที่จะใช้การปฏิบัติแบบเป็นทีม เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านกำลังคน หลัก one move one cover ท่านผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ สามารถอธิบายแนวคิด/หลักการปฏิบัติต่อข้อสงสัยของผู้รับการอบรมแบบเข้าใจง่าย ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความศรัทธาต่อผู้บังคับบัญชาอย่างแท้จริง