คู่มือการใช้สื่อออนไลน์

 

การเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัล ตำรวจต้องรู้เท่าทัน ไม่เช่นนั้นอาจติด “กับดัก” ตกเป็นเหยื่อที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรโดยรวม

ชวนให้ “ภาพติดลบ” ในสายตาของประชาชน

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถึงจัดทำแนวทางการใช้ “สื่อสังคมออนไลน์” ของข้าราชการตำรวจ เป็นเสมือน “คู่มือ” ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ สำหรับประเภทข้อมูลข่าวสาร “ไม่ควรเผยแพร่” ทั้งในรูปแบบข้อความ รูปภาพ หรือภาพเคลื่อนไหว

มีจำนวน 9 ประเภท

1.ข้อมูลที่มีเนื้อหาพาดพิง หรือ ส่งในทางลบต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ หรือกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

3.ข้อมูลที่มีลักษณะ ยั่วยุ เสียดสี บิดเบือนโฆษณา ชวนเชื่อ สร้างความแตกแยกต่อหน่วยงาน องค์กร สถาบัน สังคม รวมถึงการไม่เป็นกลางทางการเมือง

4.ข้อมูล ความลับของทางราชการ ตามระเบียบการตำรวจที่กำหนดไว้

5.ข้อมูลที่เข้าข่ายการกระทำผิด ตามประมวลกฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารทั้งของราชการและบุคคล รวมถึงการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและกฎหมายอาญาใดๆ เช่น ภาพลามก อนาจาร เป็นต้น

6.ข้อมูลที่ส่งผลกระทบต่อน้ำหนักความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานทางคดี เกิดผลเสียต่อกระบวนการยุติธรรมรวมถึงส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติภารกิจที่มีความเสี่ยงในเชิงยุทธวิธีและยุทธการ

7.ข้อมูลที่ สร้างกระแสทางสังคม หรือก่อให้เกิดความตื่นตกใจโดยไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง และไม่มีหลักฐานยืนยัน

8.ข้อมูลที่เป็นภัยคุกคาม ต่อระบบสารสนเทศ และเครือข่าย ได้แก่ โปรแกรมไม่พึงประสงค์ หรือ Malware ทุกประเภท

 9.ข้อมูลที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์อันดีของความเป็นข้าราชการตำรวจ ก่อให้เกิด “ความขบขัน” วิพากษ์วิจารณ์ “ในเชิงลบ” ลดความเชื่อมั่น ศรัทธาต่องานตำรวจ ทั้งที่เป็นปัจเจกบุคคล และองค์กรตำรวจโดยรวม

เรียนรู้และปรับตัวกันจะได้ไป “ตกเป็นเหยื่อ” ของความผิดพลาด

RELATED ARTICLES