ที่ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายสุรเดช ตรงศิริวิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมด้วย นายวาริส วิสารทานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบสินค้า นายประสิทธิ์ ดีจงเจริญ ผู้อำนวยการส่วนควบคุมทางศุลกากร นายฐิติพงศ์ คำผุย ผู้อำนวยการส่วนบริการฯ1 นายเศรษฐวุฒิ จันทร์วัฒนะ ผู้อำนวยการศูนย์เอกซเรย์ ร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ศูนย์รักษาความปลอดภัย ด่านท่าเรือแหลมฉบัง ตรวจยึดสินค้าผ่านแดน “กรดซัลฟูริก” ปริมาณ 126,000 กิโลรัมจำนวน 5 ตู้คอนเทนเนอร์ มูลค่าของกลางกว่า 12.6 ล้านบาท
ทั้งนี้เป็นไปตามนโยบาย นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร สั่งการให้ นายพงศ์เทพ บัวทรัพย์ รองอธิบดีกรมศุลการกร รักษาการแทนที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร นางนันท์ฐิตา ศิริคุปต์ รองอธิบดีกรมศุลากร นายถวัลย์ รอดจิตต์ ผู้อำนวยการกองสืบสวนและปราบปราม กำหนดมาตรการควบคุมสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ยาเสพติดอย่างเข้มงวดที่การควบคุมทางศุลกากรนั้นจะต้องไม่กระทบ หรือมีผลกระทบน้อยที่สุดกับภาคอุตสาหกรรมที่ถูกกฎหมาย ตรวจตราการนำเข้า ส่งออก ผ่านแดน สินค้าอันตรายประเภทเคมีภัณฑ์สำหรับการผลิตในอุตสาหกรรมต้องได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้นำไปใช้เป็นสารเคมีตั้งต้นในขบวนการลักลอบผลิตยาเสพติดได้
ทำให้สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ตรวจสอบสินค้าผ่านแดนประเภทวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 “กรดซัลฟูริก” ต้นทางอินเดียปลายทางเมียนมาในขณะปฏิบัติพิธีการศุลกากรผู้ขอผ่านแดนมิได้นำใบนำผ่านวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด เจ้าหน้าที่จึงกักสินค้าเพื่อตรวจสอบอย่างละเอียดและนำมาสู่การตรวจยึดเป็นสินค้าสารเคมี “โซเดียมไซยาไนด์” 220,000 กิโลกรัมที่พยายามส่งออกไปเมียนมา และจับกุมพืชยาเสพติด 2 แฟ้มคดีที่พยามลักลอบนำเข้าคือ “เมล็ดฝิ่น” 26,000 กิโลกรัม “ใบคัตอบแห้ง” 5,600 กก. รวมมูลค่าของกลางกว่า 112 ล้านบาทอีกด้วย