สืบนครบาลวางแผนรวบหมอศัลยกรรมสาวกำมะลอหลอกเหยื่อ

 

ตามนโยบายของ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รักษาราชการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลให้ปราบปรามกลุ่มหรือบุคคลที่กระทำความผิดในทุกรูปแบบ ที่สร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชนผู้สุจริตจำนวนมากโรงพยาบาลรามาธิบดี ตรวจสอบพบมีบุคคลแอบอ้างเป็นแพทย์ใช้ชื่อว่า “หมอปลา” หลอกลวงผู้เสียหายต้องใช้เงินใให้ญาติคนตายที่ที่คนผ่าตัดแล้วเสียชีวิตลงรวมเป็นเงินมูลค่าเสียหายทั้งสิ้น 1,283,620 บาท ต่อมาผู้เสียหายพบว่าไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆกับโรงพยาบาล

ทั้งนี้ พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล   สั่งการให้ พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจนครบาล  พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ สระทองออย รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจนครบาล  พ.ต.อ.อิสเรศ ปาลาพงศ์ รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจนครบาล   พ.ต.อ.นิวัฒน์ พึ่งอุทัยศรี รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจนครบาล   พ.ต.อ.อรรชวศิษฏ์ ศรีบุณยมานนทน์ ผู้กำกับการสืบสวน 3 กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจนครบาล พ.ต.ท.วิโรฒ จนุบุษย์ รองผู้กำกับการสืบสวน 3 กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจนครบาล พ.ต.ท.นิธิ ปิยะพันธุ์ รองผู้กำกับการสืบสวน 3 กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจนครบาล  นำกำลัง พ.ต.ต.ธัญพีรสิษฐ์ จุลพิภพ สารวัตรกองกำกับการสืบสวน 3 กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจนครบาล ร.ต.อ.ปรินทร์ ส่วนบุญ รองสารวัตรกองกำกับการสืบสวน 3 กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจนครบาล  ร.ต.อ.นิคม นาชัยภูมิ รองสารวัตรกองกำกับการสืบสวน 3 กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจนครบาล ร.ต.อ.ชัยยุทธ ศักดิ์เพชร รองสารวัตรกองกำกับการสืบสวน 3 กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจนครบาล ร่วมกันวางแผนติดตามพฤติกรรมหมอเถื่อนรายนี้

กระทั่งจับกุม น.ส.สุวรรณอำภา หรือปลา อินทยาวงค์ อายุ 35 ปี ที่อยู่ 6 /310 ซอยเสรีไทย 72 แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร บริเวณข้างห้างโลตัสสาขาประชาชื่น แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ต้องหาตามหมายจับ ศาลแขวงราชบุรี ที่ จ.52/2567 ลงวันที่ 18 เมษายน 2567 ความผิดฐาน “ฉ้อโกง และ นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น” จากข้อมูลของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี พบผู้ที่ใช้ชื่อว่า “สุวรรณอำภา อินทยาวงศ์” ปลอมบัตรประจำตัวบุคลากรของคณะแพทยศาสตร์ไปใช้ในการแอบอ้างเป็นศัลยแพทย์ระบบสมองของคณะแพทยศาสตร์ของโรงพยาบาล หลอกลวงเอาเงินจากคนไข้และเจ้าหน้าที่ภายในโรงพยาบาลหลายราย  คณะแพทยศาสตร์ตรวจสอบแล้วพบว่า ไม่มีบุคคลที่ใช้ชื่อดังกล่าวเป็นบุคลากรของคณะ  และไม่ใช่ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลรามาธิบดี ทำให้คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลได้รับความเสียหาย

ต่อมาเจ้าหน้าที่สืบนครบาลตรวจสอบพบว่า  คือ น.ส.สุวรรณอำภา หรือปลา อายุ 35 ปี  มีหมายจับติดตัวของศาลแขวงราชบุรี พฤติกรรมเมื่อประมาณเดือน มกราคม 2563 ขณะที่ผู้เสียหายใช้เฟซบุ๊กและได้มีบัญชีผู้ใช้งาน
เฟซบุ๊กชื่อ“ข้อมูล ส่วนตัว” ได้เพิ่มเพื่อนทางเฟซบุ๊กของผู้เสียหาย ทักข้อความมาพูดคุยและได้แนะนำตัวว่าเป็นแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี ชื่อว่า น.ส.สุวรรณอำภา หรือปลา ผู้เสียหายก็พูดคุยกันมาเรื่อยๆจนได้คบหากัน   น.ส.สุวรรณอำภา หรือปลา จะเดินทางมาหาผู้เสียหายที่อำเภอเมืองราชบุรีทุกสัปดาห์ ครั้งละประมาณ 2 วันแล้วก็จะนั่งรถโดยสารกลับไปกรุงเทพฯ บอกผู้เสียหายว่าจะไปทำงานที่โรงพยาบา และบางสัปดาห์ผู้เสียหายจะขับรถไปรับที่หน้าโรงพยาบาลอยู่ตลอดเวลาที่คบหากัน

หลังจากนั้นประมาณเดือนเมษายน 2566 ผู้เสียหายและน.ส.สุวรรณอำภา หรือปลาเลิกรากัน ปรากฎว่าช่วงก่อนที่จะเลิกกันนั้น น.ส.สุวรรณอำภามาขอให้ผู้เสียหายหาเงินจำนวนประมาณ 300,000 บาท อ้างต้องใช้เงินในการชดใช้ให้ญาติคนตายที่เป็นคนผ่าตัดแล้วเสียชีวิตลง ผู้เสียหายเชื่อว่าเป็นเรื่องจริงเอาเงินผู้เสียหายโอนให้ไปจำนวนหลายครั้ง รวมเป็นเงินมูลค่าเสียหายทั้งสิ้น 1,283,620 บาท มาทราบภายหลังไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆกับโรงพยาบาลรามาธิบดี ไม่ได้เป็นแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลรามาธิบดีแต่อย่างใด พนักงานสอบสวนได้ยื่นต่อศาลขออนุมัติหมายจับ และสืบนครบาลได้ติดตามจับกุมตัวขณะยังแต่งกายในชุดบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลและมีชื่อของผู้ต้องหาเป็นภาษาอังกฤษที่หน้าอกเสื้อด้านซ้ายอีกด้วยได้  สอบสวนรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาว่า จบ มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา ไม่เคย ประวัติการตั้งโทษหรือเคย ถูกจับ มาก่อน

พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจนครบาลกล่าวว่า การหลอกลวงมีหลายรูปแบบ แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่สายอาชีพต่างๆ  ขอให้ประชาชนอย่าได้หลงเชื่อ และฝากเตือนประชาชนเกี่ยวกับการถูกหลอกลวง หลอกให้รัก ผ่านการพูดคุยในสื่อสังคมออนไลน์ในแอปพลิเคชันต่างๆ ถึงแม้จะมีการนัดพบเจอทำความรู้จักกันแล้ว แต่มิจฉาชีพยังสามารถมีวิธีการในการหลอกลวงปกปิดตัวตนที่แท้จริง หรืออวดอ้างหน้าที่การงานที่ดี ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและเสียทรัพย์สินมูลค่าสูงได้

RELATED ARTICLES