“คนเสพสื่อมีหน้าที่อย่างเดียว คือ ความรู้เท่าทันสื่อ” 

 

ส้นทางและมุมมองสื่อมวลชน การเมืองเลือกข้างกับ คำ ผกา เรื่องราวหลากหลายน่าคิดของผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง

คำ ผกา หรือ ฮิมิโตะ ณ โตเกียว อาจเป็นนามปากกาหรือชื่อที่คุ้นเคยสำหรับผู้ที่เคยอ่านคอลัมน์ กระทู้ดอกทอง มากกว่าชื่อจริงของ ลักขณา ปันวิชัย” สาวชาวเหนือที่มีสำเนียงพูดเชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นผู้ดำเนินรายการในสถานีโทรทัศน์ช่องวอยซ์ทีวี

ก่อนหน้าเธอเคยเข้าสู่วงการสื่อสารมวลชนเป็นระยะเวลาสั้นๆ 3 เดือน ด้วยการทำงานที่วิทยุ อสมท. ก่อนจะกลับไปเป็นครูแล้วไปศึกษาต่อ

ทางวอยซ์ได้อ่านคอลัมน์ที่เขียนในมติชนสุดสัปดาห์แล้วก็ชอบที่เราชัดเจน กล้าเขียน กล้าพูด กล้าแสดงออก ไม่กลัวโดนถล่ม เพราะสมัยนั้นไม่มีใครพูดว่า คนที่ไม่เลือกข้าง คือคนที่เห็นแก่ตัว เธอเล่าถึงจุดเปลี่ยนทางอาชีพจากนักเขียนก้าวมาสู่บทบาทหน้าจอ

เมื่อมาทำงานที่วอยซ์ เธอยังพบอีกว่าได้อิสระจากผู้บริหารสถานีที่ไม่เคยลงมาสั่งว่าอะไรพูดได้-ไม่ได้ ให้อิสระในการทำงานเต็มที่มาก มากอย่างไม่น่าเชื่อ แล้วเคารพในตัว Commentator มาก คือ ไม่ก้าวก่ายในการทำงาน ให้อิสระทุกอย่างที่เราอยากทำ

เมื่อมีผลงานออกสู่หน้าจอทีวี ชื่อของ คำ ผกา เป็นที่รู้จักมากขึ้น ไม่ใช่แค่นักอ่าน แต่ยังกลายเป็นขวัญใจของกลุ่มคนเสื้อแดง และผู้ที่ต่อต้านการรัฐประหาร จนมีคนบอกว่าเธอเป็นคนแรง

ก็แรงจริงนะ เขาก็มองไม่ผิด คำ ผกากล่าวและว่า เราเขียนหนังสือ เราก็ไม่แคร์เรตติ้งอยู่แล้ว เพราะว่า สมัยนี้ก็ช่วยไม่ได้ ทางใครทางมัน สื่อตอนนี้เราเห็นว่าการที่คุณจะเป็นสื่อที่ทำมาหากินได้เพรียวๆ นี่มันก็ยาก สื่อตอนนี้มันเป็นสื่อที่ไม่ได้ทำมาหากินได้ด้วยตัวเองนะ เรายังไม่เห็นสื่อสำนักไหนที่มันยืนอยู่ได้โดยไม่มีนายทุน หรือว่าไม่ได้เป็น CSR ให้ใคร หรือไม่คุณก็ต้องเป็นสื่อที่มีอุดมการณ์แล้วก็อาศัยแหล่งทุนที่เขาสนับสนุนสิทธิมนุษยชน เช่น TCIJ (ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง หรือ ThaiPublica หรือหลายๆสำนักก็ทำงานเชิงวิชาการ เชิงคุณภาพ แล้วก็ได้เงินทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนที่เป็นเอ็นจีโอที่มี Agenda ต้องการให้สังคมดีขึ้นต้องการผลักดัน Agenda สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตยความเหลื่อล้ำ หรือสื่อที่ Co-operate ล้วนๆคุณก็ต้องเอาใจ Mass ถ้าคุณต้องการเอาใจสปอนเซอร์คุณก็ต้องเป็นลุงพล หรือเป็นอะไรอย่างอื่นไป ประกวดร้องเพลงไป อะไรแบบนี้

เจ้าตัวว่า คนที่อยู่ในวงการสื่อจะรู้ว่า สื่อโดยมากทำงานสื่อมวลชนอย่าง strictly (เคร่งครัด) อย่างมีจรรยาบรรณเพื่อเป็น Reputation (ชื่อเสียง) ให้ตัวเอง แล้วถามว่า หามาจจากไหนก็เอาฝีไม้ลายมือจากตรงนั้น หาของบ้าง ทำบริษัท ทำโปรดักชั่นเฮาส์ ทำสื่อโฆษณาให้เอกชนบ้าง มันก็ต้อง realistic เราไม่ได้เห็นว่ามันเป็นเรื่องเสียหายอะไร เราอาจจะรับจ้างทำโฆษณาให้พรรคการเมือง เราอาจจะทำ Advertorial (บทความโฆษณา) ให้บริษัททุนใหญ่ สร้างภาพพจน์ให้กับเขา หรือทำสารคดีบางเรื่องที่มันสอดคล้องกับสปอนเซอร์ที่เขาต้องการสร้างภาพพจน์ของเขา มันก็เป็นรายได้ของสื่อ อันนี้เรามองว่าอย่าไป Panic กับความเพรียวกับความบริสุทธิ์อะไรของสื่อมากนัก

คนเสพสื่อมีหน้าที่อย่างเดียว คือ ความรู้เท่าทันสื่อ สื่อก็ทำหน้าที่ทำมาหากิน เขาไม่ได้กินแกลบก็ต้องมีที่ว่างให้เขาทำมาหากินบ้าง ลักขณาว่า

ส่วนที่มาของรายการ คำเมือง กับ คำ ผกา เธอเล่าว่า ไม่มีอะไรมาก เราเป็นคนที่ทานข้าวเที่ยงกับน้อง ๆในทีมงานทุกวันแล้วคุยนั่นคุยนี้ แล้วก็จะมีหลายๆครั้งที่เราจะบอกว่า อันนี้ถ้าเป็นคนเหนือจะอธิบายสถานการณ์ เหตุการณ์นี้ด้วยสำนวนนี้ ด้วยคำพูดอย่างนี้ ทีนี้เด็ก ๆเขาก็สนุก พอสนุกเขาก็บอกว่าทำเป็นรายการเลยดีกว่า แล้วก็ทำเลยไม่ได้มีพิธีรีตองอะไร

เครดิตความสำเร็จของคำเมืองกับ คำ ผกา เจ้าตัวยืนยันว่า ไม่ใช่ตัวเธอ เพราะว่าถ้าปราศจากซึ่งโปรดิวเซอร์ที่จับประเด็นเก่ง หรือจับสถานการณ์เก่งแล้วจะไม่มีอะไรเลย เพราะแค่พูดไปเรื่อย ๆ พูดไปแบบไร้แก่นสาร (ฮา) แต่ว่า โปรดิวเซอร์จะเป็นคนตั้งคำถาม ทีนี้เมื่อโปรดิวเซอร์เป็นคนวางโครงเรื่องแล้วจะเอาสิ่งที่เราพูดอะไรเรื่อยเปื่อยนี้ไปทำสคริปต์ พอเอาไปทำสคริปต์แล้วมันก็จะเป็นผลงานของทีมตัดต่อ คือ การทำสื่อใหม่สมัยนี้เราให้เครดิตฝ่ายโปรดิวเซอร์กับตัดต่อมากที่สุด พวกนี้เราเรียกว่าทำขี้ให้เป็นทองได้  ถือว่า คลิปคำเมืองก็เป็นเครดิตของตัดต่อของโปรดิวเซอร์ ของคนหาเพลงหาภาพอินเสิร์ช ตัวเราเองเป็นงานเราแค่ 10-15 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าจะเห็นหน้าเราเยอะมาก แต่เราเป็นแค่ Material (วัตถุดิบ) ของโปรเจกต์ทั้งหมด

แม้ว่ามีหลายครั้งที่คลิปของเธอถูกเป็นมีมเป็นไวรัลในโซเชียลมีเดียจนสร้างกระแสให้กับคอการเมืองได้แชร์ออกไปจำนวนมาก แต่เธอมองปรากฏการณ์นี้ว่า อะไรที่มันออกไปจากตัวเอาแล้วมันไม่ใช่องเราสักอย่างเลย (ฮา) เราก็ต้องถือว่ามันถูก Treat ในฐานะเป็น Material เป็นวัตถุดิบ อย่าไปยึดมั่นถือมั่นกับมันมาก (ฮา) มันไม่ใช่ตัวเรา แล้วก็ไม่ใช่ของของเราแล้ว อันนั้นมันเป็น Text ที่อยู่นพื้นที่สาธารณะที่จะถูกหยิบไปใช้อย่างไรก็ได้แล้วจะถูกตีความอย่างไรก็ได้ไม่เกี่ยวกับเรา

เมื่อย้อนเหตุการณ์ 10 ปีที่แล้ว สถานการณ์ชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงและเสื้อเหลืองกำลังถูกจุดให้ร้อนระอุก่อนจะมีวิวัฒนาการมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เธอมองบริบททางด้านความหยาบคายในการแสดงออกไว้น่าสนใจ

เราต้องพูดว่าเสื้อแดงไม่เคยถ่อยนะ (ฮา) เราว่า ความหยาบคายไม่ได้อยู่ที่คำพูด ไม่ได้อยู่ที่ Vocabulary ไม่ได้อยู่ที่ถ้อยคำความหยาบคายมันอยู่ที่โลกทัศน์ ความหยาบคายมันอยู่ที่ทัศนคติความหยาบคายมันอยู่ที่ว่าคุณ Treat เพื่อนร่วมโลกของคุณอย่างไร ถ้าคุณ Treat เพื่อนร่วมโลกของคุณด้วยความเอารัดเอาเปรียบ เห็นคนไม่เท่ากัน ยินดีปรีดาที่คนเห็นต่างจากคุณต้องตาย นี่เรียกว่าความถ่อยความหยาบ ถ้าคุณปิดกั้นเสรีภาพคนอื่นนี่คือความถ่อยความหยาบ การพูดหยาบแล้วเป็นคนหยาบ ..ไม่ใช่ พระที่พูดให้คนฆ่ากันเขาก็ไม่ได้พูดคำหยาบนะ คนดีคนงามทั้งนั้นที่มาเชียร์ให้คนฆ่ากัน ไม่เห็นใครเป็นคนถ่อยสถุลสักคน เจ้าตัวว่า เพราะฉะนั้นความถ่อยความหยาบอยู่ที่โลกทัศน์ของคุณ ไม่ใช่ภาษาที่คุณใช้

 

ขณะเดียวกัน เธอปิดท้ายด้วยการให้ความเห็นเกี่ยวกับผู้หญิงในวงการสื่อมวลชนในปัจจุบันว่า ทุกคนมีหนทางทำมาหากินของตัวเอง เราจะมาเรียกร้องให้คนอื่นทำเหมือนเราหรือคนอื่นจะมาเรียกร้องให้เราทำเหมือนคนอื่น ๆก็ไม่ได้ ทุกคนก็ต้องชั่งน้ำหนักแล้วก็หาที่ทาง หาจุดแข็งของตัวเอง

ยกตัวอย่างคุณจิตดี ศรีดี ที่จัดรายการกับคุณพุทธ อภิวรรณ ไม่พูดสักคำก็มีที่ทางของเขา มีแฟนคลับของเขา เราว่าของพวกนี้ตัดสินยาก เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า ใครเป็นของจริงของปลอม ลักขณาให้ความเห็น

RELATED ARTICLES