พ.ร.บ.มาตรฐานทางจริยธรรม

เมื่อเลือกเป็น ข้าราชการรับใช้แผ่นดิน ต้องไม่โกงกินบ้านเมือง ว่าด้วยเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น

ฉ้อราษฎร์ บังหลวง

หลายคนสร้างภาพรับบท “คนดี” ถวายสัตย์ปฏิญาณตน แต่ตรงกันข้ามกลับทำพฤติกรรมฉ้อฉล ทำประชาชนเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า

ถึงเวลาระวังไม่มีแผ่นดินจะยืน หากยังจะฝืนไม่มีจริยธรรม

ตาม พระราชบัญญัติ มาตรฐานทางจริยธรรม พุทธศักราช 2562   ที่ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16  เมษายน  2562  

สาระสำคัญ กำหนดกรอบ “หน่วยงานของรัฐ”  หมายความว่า  กระทรวง  ทบวง  กรม  ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรม  ราชการส่วนท้องถิ่น  รัฐวิสาหกิจ  องค์การมหาชน  หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ในฝ่ายบริหาร  แต่ไม่หมายความรวมถึง  หน่วยงานธุรการของรัฐสภา  องค์กรอิสระ  ศาล  และ องค์กรอัยการ

“เจ้าหน้าที่ของรัฐ”  หมายความว่า  ข้าราชการ  พนักงาน  ลูกจ้าง  หรือผู้ปฏิบัติงานอื่น ในหน่วยงานของรัฐ

“องค์กรกลางบริหารงานบุคคล” หมายความว่า  คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน  คณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น  รวมทั้ง คณะกรรมการกลางบริหารงานบุคคลของเจ้าหน้าที่ของรัฐในฝ่ายบริหาร  และคณะกรรมการมาตรฐาน การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

มาตรฐานทางจริยธรรมของพระราชบัญญัติฉบับนี้  

คือ  หลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 

ต้องประกอบด้วย

ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ  อันได้แก่  ชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  และ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ซื่อสัตย์สุจริต  มีจิตสำนึกที่ดี  และรับผิดชอบต่อหน้าที่

กล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม

คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว  และมีจิตสาธารณะ

มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน

ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ

ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ

มาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง ยังระบุให้ใช้เป็นหลักสำคัญในการจัดทำประมวลจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐที่จะกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติตนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

เกี่ยวกับสภาพคุณงาม ความดีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องยึดถือสำหรับการปฏิบัติงาน การตัดสินความถูกผิด  การปฏิบัติที่ควรกระทำ หรือไม่ควรกระทำ 

ตลอดจนการดำรงตนในการกระทำความดีและละเว้นความชั่ว

ทั้งนี้ ให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลแต่ละประเภท มีหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินกระบวนการรักษาจริยธรรม  และการประเมินผลการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม  รวมทั้งให้มีหน้าที่และอำนาจจัดหลักสูตรการฝึกอบรม  การเผยแพร่ความเข้าใจ

กำหนดมาตรการจูงใจเพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของรัฐ มีพฤติกรรมทางจริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ดี  และมาตรการที่ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงาน ของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม

โดยอาจกำหนดมาตรการเพื่อใช้ในการบริหารงานบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น

ตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ถึงเป็นกฎหมายส่งเสริมคนดีในบ้านเมือง

 

 

RELATED ARTICLES