ไวรัสโควิด-19 กับการใช้งานปืนไฟฟ้าในประเทศไทย

 

ประเทศไทยเป็นประเทศที่สองของโลกที่มีการรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2563 จากวันนั้นในช่วงเวลาที่ผ่านมามากกว่า 2 ปีครึ่ง ประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้เป็นอย่างดี แต่ผลกระทบของการแผ่ระบาดของไวรัสยังคงเป็นเรื่องที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด

โดยเฉพาะภาคเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากตั้งแต่ระยะแรกของการแพร่ระบาด มีผลการสำรวจในระหว่างปี พ.ศ. 2564 ว่า มีผู้ถูกสำรวจมากกว่า 50% ถูกตัดเงินเดือนหรือมีจำนวนงานที่ลดลง และมีจำนวนมากกว่า 70% ของผู้ถูกสำรวจ ที่บอกว่าในครอบครัวตนเองมีรายรับที่ลดลง นับตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2563

แล้วปัญหาทางเศรษฐกิจนั้นส่งผลกระทบอย่างไรกับการรักษาความปลอดภัยสาธารณะอย่างไร?

“เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา ทำให้มีการก่ออาชญากรรมมากขึ้นในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปล้นและชิงทรัพย์” พล.ต.ต.รุ่งโรจน์ ฐากูรปุณยสิริ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลได้กล่าวกับแหล่งข่าว และยิ่งไปกว่านั้น ประเทศไทยยังมีการรายงานถึงจำนวนผู้ป่วยทางจิตที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ จากข้อมูลการศึกษาในเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2563 ของรองศาสราจารย์สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์และหัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่ามีรายงานการพยายามฆ่าตัวตายสูงถึง 80 ราย  ใน 44 รายนั้นมีสาเหตุเกี่ยวเนื่องมาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

จากรายงานในปี พ.ศ. 2559 ขององค์การอนามัยโลก พบว่าประเทศไทยมีจำนวนการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 14.4 รายต่อจำนวนประชากร 100,000 ราย  ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกรมสุขภาพจิต และที่ปรึกษาโครงการพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์ ในการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพจิตเพื่อตอบสนอง COVID-19 สสส.  กล่าวเสริมว่า “การแผ่ระบาดของโควิด-19 นั้นถือว่าเป็นปัญหาด้านสุขภาพจิตที่ใหญ่ที่สุดของทางกรมสุขภาพจิต นับตั้งแต่ที่มีการก่อตั้งกรมสุขภาพจิตขึ้นมาเลยทีเดียว”

แล้วเราจะแก้ปัญหาได้อย่างไร? มีเทคโนโลยีชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากสถาบันตำรวจทั่วโลกในการจัดการกับอาชากรรมในรูปแบบเหล่านี้ นั่นก็คือ เทคโลโนยีปนไฟฟ้า หรือ เทรเซอร์นั่นเอง

มีรายงานการทำวิจัยและศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์ปืนไฟฟ้าเป็นจำนวนมากกว่า 800 รายงานตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ทำให้ปืนไฟฟ้า หรือ “เทรเซอร์กัน”  เป็นเทคโนโลยีที่มีการศึกษามากที่สุดในบรรดาทางเลือกที่ไม่รุนแรงในการใช้กำลังและอาวุธของเจ้าหน้าที่

ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาวิจัยเหล่านั้น บอกอะไรกับเราได้บ้างเกี่ยวกับการใช้งานปืนไฟฟ้า และประสิทธิภาพในการช่วยลดระดับความตึงเครียดและความรุนแรงในสถานการณ์จริง?

จากรายงานเราพบว่า จากการใช้งานปืนไฟฟ้าจาก 1,000 เหตุการณ์ มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนเพียง 2 ราย และไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต เป็นตัวเลขที่น้อยกว่ามาก เมื่อเทียบกับจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากการใช้กำลังและอาวุธวิถีอื่นๆ เช่น การใช้ปืนจริง กระบองตำรวจ หรือแม้กระทั่งการใช้มือและเท้าในการต่อสู้  มีจำนวน 450 รายจาก 1,000 กรณี

ปืนไฟฟ้านั้นถูกตั้งข้อสงสัยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2564 ที่เมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีผู้ชายรายนึงเสียชีวิตจากการล้มลงฟาดพื้นหลังจากถูกยิงด้วยปืนไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานปืนไฟฟ้า ส่วนมากมักจะเกิดจากเหตุการณ์ต่อเนื่องหลังจากการถูกยิง เช่น กรณีการล้มฟาดพื้นที่กล่าวข้างต้น มากกว่าจะเกิดจากการถูกยิงหรือผลจากการช็อตไฟฟ้าของปืนไฟฟ้าโดยตรง

ที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า นอกจากปืนไฟฟ้าจะช่วยลดอัตราการบาดเจ็บของผู้ต้องสงสัยแล้ว ยังช่วยลดอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ได้อีกด้วย จากผลงานวิจัยของ ดร.บรูซ เทเลอร์ พบว่า การใช้ปืนไฟฟ้าจะช่วยลดอัตราการบาดเจ็บของผู้ต้องสงสัยที่ 40% และสามารถช่วยลดอัตราการบาดเจ็บของเจ้าหน้าที่ได้สูงถึง 74%

แน่นอนว่า ทางเลือกสำหรับการใช้กำลังและอาวุธที่ไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตนั้นจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อ สามารถใช้ยับยั้งภัยและคนร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ในเดือนเมษายนปี พ.ศ. 2565 ที่รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา มีผู้หญิงได้เดินเข้าในห้างวอลล์มาร์ต พร้อมกับถือก้อนอิฐในมือ แล้วเริ่มทำการขู่กลุ่มลูกค้าในห้างด้วยก้อนอิฐ และเปลี่ยนเป็นการใช้มีดในเวลาต่อมา เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับแจ้งเหตุและเดินทางเข้าไปถึงสถานที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่จึงใช้ปืนไฟฟ้าเพื่อทำการยับยั้งและจับกุมผู้ร้ายได้อย่างรวดเร็ว

ปืนไฟฟ้ารุ่นล่าสุดของ AXON ที่มีชื่อว่า TASER 7 ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้งานได้ในระยะกระชั้นชิด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เหมาะสมกับทุกสถานการณ์  สามารถใช้งานหยุดยั้งผู้ร้ายได้ตั้งแต่ระยะ 1.2 เมตร  น้อยกว่าของปืนไฟฟ้า TASER X2 รุ่นก่อนหน้า ที่ใช้ได้ตั้งแต่ระยะ 2.7 เมตรขึ้นไป

สารวัตร คาร์ล บอร์น ของกรมตำรวจแคว้นกลอสเตอร์เชียร์ กล่าวเอาไว้ได้อย่างน่าสนใจว่า “ในหลายๆครั้ง แค่การที่เจ้าหน้าที่แสดงให้เห็นว่ามีปืนไฟฟ้าติดตัวไว้ ก็เพียงพอที่จะช่วยลดความตึงเครียดของสถานการณ์และสามารถระงับการใช้ความรุนแรงในสถานที่เกิดเหตุได้ โดยที่เจ้าหน้าที่ไม่จำเป็นต้องเหนี่ยวไกตัวปืนไฟฟ้าเลย”

 ปืนไฟฟ้าเทรเซอร์กันนั้นมีความสามารถที่จะแสดงการวิ่งของกระแสไฟพร้อมส่งเสียงการช็อตไฟฟ้าทางด้านหน้าตัวอุปกรณ์ที่เรียกว่า Warning Arc  เพื่อเป็นการส่งสัญญาณเตือนต่อผู้ร้ายว่า เจ้าหน้าที่มีปืนไฟฟ้า และให้ทำตามคำสั่ง ไม่อย่างนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการใช้ปืนไฟฟ้าในการแก้ไขสถานการณ์

นายตำรวจ แมคเคลเลอร์ ของหน่วยตำรวจร็อคฮิลล์ในมลรัฐเซาท์แคโรไลนา กล่าวถึงการใช้งานปืนไฟฟ้า TASER 7 ร่วมกับการใช้งานกล้องวิดีโอแบบติดลำตัวของ AXON เอาไว้ว่า “ผมคิดว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจควรจะมีอุปกรณ์ทั้ง 2 อย่างนี้ติดตัวไว้เวลาออกปฏิบัติงาน เพื่อช่วยดูแลรักษาความปลอดภัย และเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับสังคม”

แล้วเรื่องที่กล่าวมานั้น เกี่ยวข้องกับประเทศไทย และปัญหาที่เกิดจากผลกระทบทางเศรษฐกิจและสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างไร?

คำตอบคือ ปืนไฟฟ้านั้นสามารถถูกนำมาใช้ในการลดความตึงเครียดของสถานการณ์ ไม่จำเป็นต้องมีผู้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจะช่วยทำให้ลดจำนวนปริมาณการก่ออาชยากรรมได้อย่างมีนัยยะ อีกทั้ง ปืนไฟฟ้ายังสามารถถูกใช้ในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญกับผู้ที่มีปัญหาทางจิต เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยมีโอกาสทำร้ายร่างกายตนเองหรือคนรอบข้างได้อีกด้วย

ยกตัวอย่างเช่น ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2563 ชาร์ล วิลเลี่ยม รองสารวัตรตำรวจเมืองฮิลล์โบโร่ รัฐฟลอริดา  ถูกผู้ร้ายใช้มีดแทงเข้าที่ลำคอ ต่อมาสามารถใช้ปืนไฟฟ้าในการยับยั้งและจับกุมผู้ร้ายไว้ได้ก่อนที่จะสร้างอันตรายไปมากกว่านั้น

ในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญกับผู้ที่มีปัญหาทางจิต การที่เจ้าหน้าที่สามารถที่จะมีเวลาพูดคุยและเข้าถึงผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่บาดเจ็บ เพื่อที่จะนำตัวผู้ป่วยไปรักษาอย่างถูกวิธี ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดในการปฏิบัติงาน

ปืนไฟฟ้า “เทรเซอร์กัน” อาจจะไม่ใช่เทคโนโลยีที่สามารถแก้ไขปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในสังคม จากผลกระทบของโควิด-19 แต่ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่สามารถทำให้ประชาชนและสังคมมีความปลอดภัยมากขึ้น บนสถานการณ์ที่ส่งกระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยของทุกคนบนโลกใบนี้

ท่านสามารถเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ปืน “ไฟฟ้าเทรเซอร์” ได้โดยเข้าชมเว็บไซต์ th.axon.com หรือติดต่อ ดร.เชน ธิษณ์สุชน เจ้าหน้าที่จากบริษัท AXON ได้ที่ [email protected].

 

 

 

 

RELATED ARTICLES