ปุจฉาตามหาตาชั่งหน่วยงานอิสระ

 

 

อดีตนายตำรวจวัยเกษียณท่านหนึ่งตั้ง “ปุจฉา” มาว่า คดีในมือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่ขาดอายุความ

เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องไม่มีความผิดใช่ไหม

ไม่เหมือนกับตำรวจ หรืออัยการที่ต้องโดนมาตรา 157 กับโทษทางวินัย

ออกกฎหมาย-ระเบียบมาครั้งแรกเป็นอย่างไรไม่ทราบถึงเป็นเช่นนั้น

อยากให้แสวงหาข้อเท็จจริงมาเผยแพร่ความรู้ได้ หรือฝากถามความเห็น พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

เนื่องจากปัจจุบัน คดีในมือของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทยอย “ขาดอายุความ” ปีละมากมาย

ว่ากันว่า เจ้าหน้าที่จะเลือกหยิบเฉพาะคดีที่คิดว่า ผู้ถูกกล่าวหา “ต้องวิ่งเต้น” และก้ำกึ่ง (ออกหน้าไหนก็ได้) ขึ้นมาทำ

เพื่อเปิดช่องให้ผู้ต้องหาวิ่งเต้น

หากอยู่ในมือตำรวจ อัยการจะมีความผิดแน่นอน

แต่บางครั้งอัยการจะชั้นเชิงสูง “กันตัวเอง” เอาขี้ใส่มือตำรวจ (พนักงานสอบสวน)

ตัวอยากเช่น คดีบอสกระทิงแดง ข้อหา (อะไรนะ..น่าจะเมาแล้วขับ-จำไม่ได้) ที่ขาดอายุความไปก่อน

อัยการอ้างว่า แยกฟ้องไม่ได้ เพราะไม่ได้ตัวมาฟ้อง

เนื่องจากตำรวจไม่จับตัวมาให้

เรื่องนี้หาก “ไร้ใบสั่ง” ถ้าตำรวจอยากได้ตัว บอสกระทิงแดงจริง ๆ ไม่ยาก เพราะมักจะไปปรากฏตัวทุกสนามการแข่งขันฟอร์มูล่าวัน ตามประสาคนชอบความเร็ว ถึงจะมีคนสงสัยว่าเจ้าหนุ่มทายาทตระกูลดังศัลยกรรมเปลี่ยนแปลงโฉมไปแล้วก็ตาม

ให้สังเกตบอร์ดี้การ์ดใหญ่ล่ำยังเป็นทีมเดิม

กระนั้น “รอยแยก” คดีระหว่างตำรวจกับอัยการหลายเรื่องถูกกระเด็นใส่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในคราบของ “องค์กรอิสระ” ดูหน้าเชื่อถือ

ก่อนอาศัยเทคนิคทางด้านกฎหมายอ้างพยานหลักฐานรับฟังไม่พอต้อง “ยุติเรื่อง”

เลวร้ายที่สุด “ดองจนขาดอายุความ” มีให้เห็นมาเยอะแล้ว ไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดต้องรับผิดจากการใช้เล่ห์เหลี่ยม “ตาชั่ง” ของหน่วยตัวเองด้วย

ไม่แปลกที่ทำไมทีมกฎหมาย “ค่ายหวานเจี๊ยบ” จะพยายามปั่นกระแสให้นำสำนวนคดีสำคัญเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

กล้าแม้กระทั่งประกาศตัวยอมรับรู้จักสนิทสนมคนวงในด้วย

 

RELATED ARTICLES