ไม่ได้รู้สึกน้อยใจที่พ่อไม่มีเวลา

 

ายาทคนเล็กอดีตนายตำรวจมือสอบสวนที่ผันตัวเองไปนั่งตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง

...หญิง เมริสา ภุมมา รองสารวัตรฝ่ายอำนวยการ 5 กองบังคับการอำนวยการ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ลูกสาวคนเดียวของ ...จรุงวิทย์ ภุมมา มีพี่ชายอีกคน เริ่มต้นวัยประถมใช้ชีวิตนักเรียนหญิงล้วนอยู่โรงเรียนราชินียาวจนจบชั้นมัธยม 6 ไปต่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาคอินเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำเร็จออกมาไปเรียนคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกใบ

ตอนเด็กวาดความฝันอยากเป็นแอร์โฮสเตสตามแม่ พอโตขึ้นสัมผัสความเป็นตำรวจของพ่อเลยเปลี่ยนใจติดจะเจริญรอยตามเส้นทางผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ เพราะมองเป็นงานที่มั่นคง ก่อนพลิกไปพลิกมาตอนเรียนกฎหมายเพิ่ม นึกอยากไปทางด้านอัยการ ผู้พิพากษา สุดท้ายลงเอยสอบนายสิบตำรวจแล้วเข้าอบรมหลักสูตรฝึกอบรมข้าราชการตำรวจและบุคคลที่บรรจุหรือโอนมาเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรรุ่น 45 จบออกมาลงสังกัดสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

เหมือนว่า เราได้ภาษา จบอินเตอร์มาด้วย คุณพ่อก็แนะนำให้มาทางนี้ ความรู้สึกที่ได้เป็นตำรวจก็ดีนะ ตอนแรกเพื่อน ๆ หัวเราะ ดูไม่น่าจะมาเป็นได้ เพราะไม่มีแพลนว่าจะมาเป็นก่อนหน้า ไม่ใช่ว่า ชอบ แต่เห็นคุณพ่อเป็นมาก่อน คุณลุงก็เป็นตำรวจ เห็นชีวิตการทำงานของตำรวจแล้วบางทีสงสารตำรวจ บางทีที่เห็นก็เข้าใจ แล้วก็พอมาเป็นยิ่งเข้าใจมากขึ้น

ผู้หมวดสาวบอกว่า พ่อสอนเสมอให้อดทนอย่างเดียว ต้องปรับตัวตามสถานการณ์ทุกอย่างให้ได้ ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ทำอะไร ต้องทำ ถามว่าสนิทกับพ่อไหม สนิทมาก เห็นการทำงานของพอเยอะตั้งแต่ยังเป็นตำรวจกองปราบปราม แม้พ่อจะออกไปทำงานต่างจังหวัดบ่อยครั้ง ไม่ได้รู้สึกน้อยใจที่พ่อไม่มีเวลา เพราะพ่อให้เวลากับครอบครัวเต็มที่ คือ กลับบ้านทุกวัน  เจอกันทุกเย็น ไม่ได้ขาดอะไรไป

ภูมิใจในตัวคุณพ่อมาก สร้างผลงานของตัวเองทุกอย่างแบบไม่มีใครช่วย บ่อยครั้งจะเห็นคุณพ่อเหนื่อย ยิ่งเหนื่อยหนักตอนเลือกตั้ง โดนด่าในทวิเตอร์ จนเราต้องรีไพล์เกือบทุกทวิตที่โพสต์ด่าคุณพ่อ เห็นตอนแรกร้องไห้เหมือนกันนะว่า ทำไมต้องด่าด้วย ผ่านไปสักพักเลือกไม่ดู ไม่อ่านดีกว่า เปลี่ยนเป็นให้กำลังใจคุณพ่อ แต่คุณพ่อจะบอกว่า ชินแล้ว ไม่เป็นไร  ไม่สนใจ ดูแล้วคุณพ่ออดทนมาก เป็นต้นแบบให้ได้อย่างดีเจ้าตัวสะท้อนความรู้สึก

เธอเปรียบเทียบด้วยว่า สมัยพ่อเป็นตำรวจกับตอนเป็นเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งเหนื่อยคนละแบบ เป็นตำรวจอาจจะต้องเหนื่อยทำงานแล้วตอนโดนโยกย้าย แต่ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะเป็นเรื่องงานโดยตรงดูเหนื่อยแบบแบกรับความเห็นต่างของสังคม ของประชาชน เหนื่อยกับการที่ทำแล้วไม่ถูกใจทุกคน เพราะหลายๆ คนมีฝ่าย ฝั่งนี้จะเอาอย่างนี้ อีกฝั่งจะเอาอย่างนี้ ทำให้ถูกจับตามอง

 

 

 

 

RELATED ARTICLES