สถาบันอนุสรีมอบตุ๊กตาวันเด็กให้ศูนย์พึ่งได้ รพ.ตำรวจ

ที่ศูนย์พึ่งได้โรงพยาบาลตำรวจ พล.ต.ท.บุณยรัสน์ พุกกะเวส นายแพทย์ (สบ 8) โรงพยาบาลตำรวจ และพล.ต.ต.ประดิษฐ์ ปรีดีพร้อมพันธุ์ นายแพทย์ (สบ 6) โรงพยาบาลตำรวจ ในฐานะรองประธานคณะทำงานศูนย์พึ่งได้โรงพยาบาลตำรวจ พร้อมด้วย พ.ต.อ.หญิง ศิริกุล ศรีสง่า พยาบาล (สบ 5) โรงพยาบาลตำรวจ ในฐานะที่ปรึกษาปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นผู้แทนรับมอบตุ๊กตาจากสถาบันอนุสรี รวมใจ ที่มีคุณอนุสรี ทับสุวรรณ ในฐานะประธานสถาบันอนุสรีรวมใจให้กัน พร้อมด้วยนางวรรณภา อาจแย้มสรวล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส เมืองไทยประกันชีวิต ดร.ณรงค์ ศรีเกรียงทอง พ.ต.อ.วรศักดิ์ บัณฑิต รองผู้บังคับการปฏิบัติการพิเศษเป็นผู้ส่งมอบ วัตถุประสงค์เพื่อนำไปให้แก่เด็กผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงที่อยู่ในการดูแลของศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลตำรวจ เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566 เป็นตัวแทน “อ้อมกอด” ของความรัก และความห่วงใยไปยังเด็กๆ

คุณอนุสรี ทับสุวรรณกล่าวถึงความรู้สึกว่า ส่วนตัวดีใจ และภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเป็นผู้ให้ อีกทั้งได้เป็นหนึ่งเสียงในการรณรงค์เพื่อยุติความรุนแรงในทุกมิติ และในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566 ได้ชวนเพื่อนๆ มาร่วมกิจกรรมมอบของขวัญตุ๊กตาแทนอ้อมกอ ให้แก่ศูนย์พึ่งได้และเพจ Because we care ที่ดูแลงานด้านนี้โดยตรง ทราบมาว่า ตุ๊กตาเป็นสิ่งที่หน่วยงานนี้ใช้ในการดูแลเยียวยาจิตใจเด็กโดยเฉพาะการ “กอด” จึงนำมาเป็นของขวัญเพื่อส่งอ้อมกอดผ่านตุ๊กตาให้กับเด็กๆกลุ่มเหล่านี้และส่งกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้มีพลังใจในการทำหน้าที่เพื่อให้กลุ่มเด็กๆเหล่านี้ได้รับอ้อมกอดที่อบอุ่น และเยียวยาทางด้านจิตใจ

ด้าาน พ.ต.อ.หญิง ศิริกุล ศรีสง่า พยาบาล (สบ 5) โรงพยาบาลตำรวจ ในฐานะที่ปรึกษาปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และผู้ดูแลเพจเพจ Because we care กล่าวว่า อันดับแรกต้องขอขอบคุณทางสถาบัน
อนุสรีรวมใจ และบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต หน่วยงานต่างๆ ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งมอบความรัก และความอบอุ่นผ่านตุ๊กตาเป็นกำลังใจ และสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมอย่างเข้มแข็ให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพ ตามคำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566 ที่ว่า “รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่ความดี”

เจ้าตัวบอกด้วยว่า ปัญหาการกระทำความรุนแรงสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ทุกเวลา สถานที่
การป้องกันไม่ให้เกิดเริ่มจากตัวเรา ครอบครัว โรงเรียน สถานที่ทำงาน ทุกสังคม ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ทุกคนต้องตระหนัก และร่วมกันรณรงค์ยุติความรุนแรง โดยเฉพาะการกระทำความรุนแรงต่อเด็กที่มีจำนวนการกระทำความผิดที่สูงขึ้น จากสถิติของผู้ที่ถูกกระทำความรุนแรง จำนวน 70 เปอร์เซ็นต์เป็นผู้ที่มารับบริการที่ศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลตำรวจ คือ เด็กอายุระหว่าง 11-16 ปี จำนวนถึง 500 คนต่อปี ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานของศูนย์พึ่งได้ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา พร้อมทั้งแสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อยุติความรุนแรง โดยเฉพาะในกลุ่มสตรี เด็ก และเยาวชน มี เพจ Because We Care เป็นผู้ทำหน้าที่สื่อกลางในการประชาสัมพันธ์

RELATED ARTICLES